บทบาทผู้นำท้องถิ่นในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
บทบาทผู้นำท้องถิ่น, การจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทผู้นำท้องถิ่นในการบริหารจัดการ 2) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการ และ 3) หาแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของผู้นำท้องถิ่นในการบริหารจัดการโรงเรียนของผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี คณะกรรมการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ บุคลากร ผู้นำชุมชนทั้ง 9 ชุมชน และนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยมีดังนี้
- บทบาทผู้นำท้องถิ่นในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม พบว่า ด้านการบริหาร ผู้นำท้องถิ่นมีแนวคิดในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ด้วยการเข้าไปดูแลและสนับสนุนด้านบุคลากร ด้านวัสดุ อุปกรณ์ ด้านสถานที่ และค่าสาธารณูปการ ด้านการวางแผน ผู้นำท้องถิ่นได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้านการวางแผน เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรม โดยการนำนักเรียนผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้านการตอบสนองนโยบายภาครัฐ เป็นการรับสนองนโยบายภาครัฐในการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
- สภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการโรงเรียนของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม พบว่า ด้านการบริหาร ด้านการวางแผน และด้านการจัดกิจกรรม มีความเชื่อมโยงกับงบประมาณทั้งสิ้น ซึ่งโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้วประสบปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ อีกทั้งตามระเบียบเทศบาลไม่สามารถจัดตั้งงบประมาณของโรงเรียนผู้สูงอายุได้ ปัญหาดังกล่าวได้มีผลกระทบกับวัสดุ อุปกรณ์ หรือสื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ส่งผลให้การวางแผนในการดำเนินกิจกรรมติดขัด และมีจำกัด อย่างไรก็ตามยังมีหน่วยงานภายนอก หรือหน่วยงานที่เข้ามาตรวจเยี่ยมมอบเงินทุนให้
- แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของผู้นำท้องถิ่นในการบริหารจัดการโรงเรียนของผู้สูงอายุ พบว่า ด้านการบริหารตามระเบียบของเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้วไม่สามารถจัดตั้งงบประมาณของโรงเรียนผู้สูงอายุได้ ผู้นำท้องถิ่นแก้ไขปัญหาด้วยการให้บุคลากรของเทศบาลเข้าไปช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ด้านการวางแผน คณะกรรมการดำเนินการโรงเรียนผู้สูงอายุ จะทำการประเมินนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุก่อน และหลังเข้าเรียนว่ามีศักยภาพอย่างไร และด้านการจัดกิจกรรม มีการจัดกิจกรรมและปรับประยุกต์ให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ เช่น ด้านวิชาการ และด้านวิชาชีพ อีกทั้งยังมีการต่อยอดและพัฒนาสินค้าเพื่อจำหน่าย
คำสำคัญ: บทบาทผู้นำท้องถิ่น การจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วม
References
ถนัด เดชทรัพย์.การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ตามหลักธรรมาภิบาล. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2550.
ทศพล พงษ์ต๊ะ และณัฐพงศ์ รักงาม. “โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย,” วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7, 2 (2561): 74-76.
พันนิภา บุญจริง. “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ ตำบลธาตุน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 8, 2 (2558): 1-8.
พระสุรชัย เตชปัญโญ (เชื้อเมืองพาน). บทบาทผู้นำท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการชุมชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2551.
ภูมิศักดิ์ สนามชัยสกุล และคณะ. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2557.
มหาดไทย, กระทรวง . กรมกิจการผู้สูงอายุ. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559). จาก http://www.dopa.go.th
ยุวดี พวงรอด. บทบาทผู้นำท้องถิ่นต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของประชาชนในชุมชน กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2557.
วรนาถ พรหมศวร และศุภรนิช วสุกาญจนเวช. “โรงเรียนผู้สูงอายุมุมมองตามบริบทชุมชนท้องถิ่นสุรินทร์,”การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8”. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, 2559 หน้า c-115-c-127.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์ และคณะ. “บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย,”วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9, 1 (2559): 124-126.
สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
อรทัย ยะมะโน. บทบาทผู้นำท้องถิ่นต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.
อำนวย เหมือนวงศ์ธรรม. “บทบาทผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมโครงการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษากรณีเขตพื้นที่ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม,” วารสารวิทยบริการ. 24, 4 (2556): 46.
Sukhothai Thammathirat Open University สังคมผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 23 มิถุนายน 2562). จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-
01.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ