การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ตำบลไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ, การมีส่วนร่วม, การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ตำบลไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องในขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ คัดเลือกแบบเจาะจง 67 คน ประกอบด้วย ภาคการเมือง ภาคประชาชน และภาควิชาการ และตัวอย่างประชาชนตำบลไร่ใต้ ได้มาโดยสุ่ม 360 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
ประชาชนตำบลไร่ใต้มีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ลดลง และมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ก่อนดำเนินการ (HI=56.94, CI=50.76) หลังดำเนินการ (HI=6.67, CI=19.67) ส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เป็นศูนย์
References
กนกวรรณ เอี่ยมชัย, แดนชัย ชอบจิตร และพัชรบูรณ์ ศรีวิชัย. “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
อนามัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านแม่ต๋อม ในจังหวัดพะเยา,” วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 10, 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2561): 229-242.
ควบคุมโรค, กรม. สถานการณ์ โรคไข้ เลือดออก 2562: (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562). จาก https://ddc.moph.go.th/dvb/news.php?news=696&deptcode=dvb
นพมาศ ศรีเพชรวรรณดี, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล และศิวพงษ์ คล่องพานิช. “ถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะเพื่อ
สุขภาพกรณีศึกษาการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม,” พยาบาลสาร. 44,
ฉบับพิเศษ 1 (ธันวาคม 2560): 117-127.
วิจิตร ศรีสุพรรณและ วิลาวัณย์ เสนารัตน์. “โครงการขับเคลื่อนวิชาชีพพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ,” การปฏิบัติการพยาบาลและพดุงครรภ์ไทย. 4, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560): 5-19.
พิรุฬห์ ศิริทองคำ และคณะ. “รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ
ตอนบนของประเทศไทย,” สังคมศาสตร์และวิชาการ. 11, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2561): 398-408.
สุรศักดิ์ บุญเทียน “การพัฒนารูปแบบการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ แบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพ
จังหวัดกำแพงเพชร” มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 35, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561): 64-89.
สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, สำนักงาน. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัด อุบลราชธานี. (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562). จาก http://hdc.phoubon.in.th/gisubon/timemapdhf.php
Gomez, D., W. Hector and R. Janine. “Dengue in the Americas: Challenges for prevention and
control”. Cadernos de Saude Publica (Rio de Janeiro). 25, 1 (February 2009): 19-31
World Health, Organization, WPRO. Dengue Situation Updates 2019. (online). 2019 (Cited 1 November 2019). Available from: https://iris.wpro.who.int/handle/10665.1/14329
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ