ผลของการเรียนแบบสะท้อนคิดโดยใช้แผนผังความคิดออนไลน์แบบมีโครงสร้างและแบบอิสระ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ หวังชอบ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อุดม หอมคำ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นุชจรี บุญเกต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การเรียนแบบสะท้อนคิด, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, รูปแบบการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบสะท้อนคิดโดยใช้แผนผังความคิดออนไลน์แบบมีโครงสร้างและแบบอิสระที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน ตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน  120  คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ การเรียนแบบสะท้อนคิดที่มีรูปแบบต่างกัน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้เรียนที่มีการเรียนแบบสะท้อนคิดโดยใช้แผนผังความคิดออนไลน์แบบมีโครงสร้างมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าผู้เรียนที่มีการเรียนแบบสะท้อนคิดโดยใช้แผนผังความคิดออนไลน์แบบอิสระอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
  2. ผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนต่างกันเมื่อได้รับการเรียนแบบสะท้อนคิดโดยใช้แผนผังออนไลน์ต่างกันมี

คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 

  1. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนต่างกันที่ได้รับการการเรียนแบบสะท้อนคิดโดยใช้แผนผัง

ออนไลน์ต่างกันมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

จุฑาทิพย์ ชาติสุวรรณ. การสร้างแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.

ชำนาญ ด่านคำ. การพัฒนารูปแบบการเรียนสังคม เกมมิฟิเคชั่นออนไลน์เพื่อส่งเสริม พฤติกรรมการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม, 2560.

ธีรพล เพียรเพ็ง. ผลของการสะท้อนคิดด้วยวีดิทัศน์ตามแนวคิดวงจรกิบส์ในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต่อระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

นรีรัตน์ สร้อยศรี. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมกันด้วยเว็บเควสท์เชิงสมรรถนะ (Competency-based Webquest) เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2553.

ประกอบ กรณีกิจ. การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การประเมินตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

วัชรี แซงบุญเรือง. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเรียนเสมือนจริงสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2559.

วาฤทธิ์ นวลนาง. ผลการเปรียบเทียบรูปแบบการสอนออนไลน์ตามกระบวนการ Big Six Model ที่มีต่อการรู้สารสนเทศและทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2559.

สมนึก ภัททิยธนี และคณะ. การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์, 2548.

อัจฉรา อินทร์น้อย. ผลการสอนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิดที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ, 2555.

Buzan, T. The Mind map book : Radiant thing. London: BBC Books, 1997.

Dewey, J. How We Think: A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educative Process. Boston, MA: D.C. Heath & Co Publishers, 1993.

Ennis, R., H. Logical basic of mesuring critical thinking skills. Journal of Education Leadership. 11, 4 (October 1985): 45-48.

Gibbs, G. Learning by Doing : A guide to teaching and learning methods. Further Educational Unit, Oxford Polytechnic, Oxford, 1988.

Giesen. Using Critical Thinking Teaching Methods to Increase Student Success: An Action Research Project. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education 2017. 29, 1 (June 2011): 17-32.

Grasha, A., and Reichman, S. Work Handout on Learning Styles. Ohio: University of Cincinnati, 1982.

John. A. List. Field Experiments. The Journal of Economic Literature. 42, 4 (December 2004): 1009-1055.

Kolb. D.A. Experiential Learning Theory and The Learning Style Inventory: A Reply to Freedman and Stump. The Academy of Management Review. 6, 2 (April 1981): 289-296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-25

How to Cite

หวังชอบ ศ. . ., หอมคำ อ. . ., บุญเกต น. . ., & สงวนสัตย์ ข. . . (2020). ผลของการเรียนแบบสะท้อนคิดโดยใช้แผนผังความคิดออนไลน์แบบมีโครงสร้างและแบบอิสระ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(1), 181–194. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/241640