แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การบริหารความขัดแย้ง, โรงเรียนขนาดกลางบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ตัวอย่าง จำนวน 320 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดกลาง 80 คน และครูโรงเรียนขนาดกลาง 240 คน กำหนดขนาดตัวอย่างจากตารางสุ่มของเครซี่และมอร์แกน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละการหาค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 วิธี ได้แก่
1. วิธีการประนีประนอม ผู้บริหารสถานศึกษาทำความเข้าใจและพิจารณาถึงปัญหาความขัดแย้ง ตามข้อเท็จจริงด้วยเหตุผล เปิดโอกาสให้คู่ขัดแย้งได้ชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริง พิจารณาหาทางออกร่วมกันโดยให้มีผลกระทบน้อยที่สุดและเกิด ความพึงพอใจกับทั้งสองฝ่าย
2. วิธีการร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันด้วยความสามัคคี แล้วร่วมกันลงมติเพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาให้คลี่คลายโดยเร็ว
3. วิธีการยอมให้ ผู้บริหารสถานศึกษายอมให้ โดยคำนึงถึงเป้าหมายและผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ ไม่ให้เกิดความบาดหมางใจระหว่างบุคลากร และยอมให้ปฏิบัติเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนองค์การได้ดีที่สุด
References
กมลนัทธ์ ศรีจ้อย. การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2560.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2553.
กาญจนา ประวรรณรัมย์. การบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2561.
ชุติพงศ์ เสนาโปธิ. แนวทางการบริหารความขัดแย้ง ในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2560.
พรนพ พุกกะพันธ์. การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: ว.เพ็ชรสกุล, 2554.
พัชราภรณ์ กุลบุตร. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
วรพงษ์ ประเสริฐศรี. แนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2560.
วิภาวี เจียมบุศย์. สาเหตุของความขัดแย้งและวิธีจัดการกับความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2554.
วิลามาศ พากเพียร. การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2559.
ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. “การจัดการความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์,” วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559): 193-208.
ดำรงราชานุภาพ, สถาบัน. “การบริหารความขัดแย้งและบริหารภาวะวิกฤต,” เอกสารความรู้ สดร. ลำดับที่ 10/ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ส่วนพัฒนาและบริหารจัดการความรู้สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2554.
สัมมา รธนิธย์. หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 2556.
สิทธิพงศ์ สิทธิขจร. การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: จงเจริญ, 2559.
สุวิมล ติรกานันท์. การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
Krejcie, R. V. and D. W. Morgan. “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30, 3 (1970): 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ