อิทธิพลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต่อผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, ผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่, กำนันผู้ใหญ่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต่อผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร 3) แสวงหาแนวทางพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร จำนวน 1,194 คน ตัวอย่าง 300 คน ทำการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านหลักความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านหลักการมีส่วนร่วม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักความคุ้มค่า และผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านงานทะเบียน ส่วนด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
- 2. อิทธิพลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขต จังหวัดสกลนคร โดยมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ .396 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .140 และยังพบว่า อิทธิพลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสามารถพยากรณ์ระดับผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้ร้อยละ 15.70 ส่วนอีกร้อยละ 30 เกิดจากอิทธิพลของตัวแปรอื่นๆ โดยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักความคุ้มค่า ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมี 3 ด้าน คือ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส ส่วนแนวทางพัฒนาผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร ควรพัฒนา 3 ด้าน คือ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ และด้านการที่เกี่ยวด้วยความอาญา
References
จังหวัดสกลนคร. บรรยายสรุป ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร 15 พฤษภาคม 2559. สกลนคร : ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร, 2559.
ธัญญรัตน์ พุฒฑิพงษ์ชัยชาญ และจิรัญญา สนิท วัฒนากูล. ประสิทธิภาพการบริหารบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (15-16 กุมภาพันธ์ 2561): 1056-1071.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2553.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2543.
ภิญโญ นาสิงห์ขันธ์. ความคิดเห็นของบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ปฏิบัติจริงกับบทบาทที่ควรจะเป็น กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2550.
สุริยะ วิริยะสวัสดิ. บทบาทกํานันผ้ใหญ่บ้านท่ามกลางสังคมไทยที่กําลังเปลี่ยนแปลง ปัจจุบัน. (ออนไลน์) 2544 (อ้างเมื่อ กุมภาพันธ์ 2556 ).
จาก: http://www.alro.go.th/alro/index.jsp. 17
อภิชาติ เทพชมภู. การปฏิบัติงานตามหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553.
อภินันท์ ค้าเจริญ. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภออู่ทอง และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
Cronbach, L. J. Essential of psychology testing. New York: Harper, 1984.
Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York: Harper
and Row, 1973.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ