การรับรู้เกี่ยวกับค่านิยมหลักในโปรแกรมการผลิตครูตามมุมมองของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
คำสำคัญ:
ค่านิยมหลัก, โปรแกรมการผลิตครู, การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้บริบทโปรแกรมการผลิตครู โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ตามหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การรับรู้ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เกี่ยวกับการปลูกฝังค่านิยมหลักทางการศึกษาในโปรแกรมการผลิตครู สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 124 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษารับรู้การปลูกฝังค่านิยมหลักผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมฯ ทั้งในสถานะผู้ทำกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษารับรู้ว่า 1) การร่วมกันวางแผนและการสะท้อนผลร่วมกัน การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายงาน และการทำงานร่วมกับเพื่อนในชั้นปีเดียวกัน รุ่นพี่ รุ่นน้อง และอาจารย์ ช่วยให้นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เรียนรู้ค่านิยมการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น 2) การร่วมกันแก้ปัญหาจากการจัดกิจกรรม การยอมรับความคิดเห็นจากผู้อื่นจากการวางแผนและการสะท้อนผลการจัดกิจกรรม การเคารพความคิดที่แตกต่าง ช่วยสนับสนุนให้เรียนรู้ค่านิยมการเป็นผู้มีใจกว้าง 3) การช่วยเหลือ การอาสาเข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชาที่รุ่นพี่หรือรุ่นน้องเป็นผู้จัดกิจกรรมหลัก รวมทั้งการให้คุณค่ากับประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ช่วยให้นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เรียนรู้ค่านิยมการเป็นผู้มีจิตสาธารณะ 4) การดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมมีการวางแผนงานอย่างละเอียดและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากแผนการ การอดทนรอฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงการให้คุณค่ากับการสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงการจัดกิจกรรม เป็นแนวทางที่นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษารับรู้ว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ค่านิยมการให้คุณค่ากับกระบวนการทำงาน
References
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. การศึกษาชั้นเรียน: นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. บทบาทของครูในอนาคต : เตรียมผู้เรียนให้สอนตนเองได้ต่อไป. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 1,1 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2558): 1-8.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. วิธีการสอนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาในบริบทของการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด.ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา, 2559.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. Lesson Study and Open Approach: Tools to transform Teacher Education for future Teachers. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 19 ตุลาคม 2558). จากhttps://www.youtube.com/watch?v=lBPLodoVeXU
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน.พิมพ์ครั้งที่ 1.ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง, 2557.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. แนวทางและนโยบายสร้างครูยุคใหม่ ตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบันของโลก. (ออนไลน์) 2556 (อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2556) จาก https://www.youtube.com/watch?v=3h49jaalVhQ
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. การพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์, 2546.
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. รายงานชุดการปฏิรูประบบบุคลากรครู: ข้อเสนอการปฏิรูปคุณภาพครูและการสอนในช่วงการเกษียณอายุราชการของครู 10 ปีข้างหน้า. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2559.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. ระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2560.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. รายงานผลการศึกษา สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2558.
วรากรณ์ สามโกเศศ. 8 ยาพิษแอบแฝงกับการศึกษาไทย เหมือนปรอท ทำให้ตายทีละน้อย. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 21 กันยายน 2558). จาก https://thaipublica.org/2015/09/varakorn-14-9-2558/
วิทยากร เชียงกูล. สภาวะการศึกษาไทย ป 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ไดอย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพดีการพิมพ จํากัด, 2559.
Bishop, A.J. Teachers’ Mathematical Values for Developing Mathematical Thinking in Classrooms: Theory, Research and Policy. The Mathematics Educator. 11,1/2. (January 2008): 79-88.
Inprasitha, M. Research and Development of Modern Mathematics Instruction. KKU Research. 2, (2016): 2-9.
Inprasitha, M. New model of teacher education program in mathematics education: Thailand experience. Proceedings of 7th ICMI-East Asia Regional Conference on Mathematics Education. (2015): 97-100.
Inprasitha, M. Innovations and Exemplary Practices in Teacher Education Program in Thailand. In M. Inprasitha (Ed.), EARCOME 6: Innovations and Exemplary Practices in Mathematics Education: Proceedings of the 6th East Asian Regional Conference on Mathematics Education. (2013): 32-43.
Inprasitha, M. One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand —Designing Learning Unit— Proceedings of the 45th National Meeting of Math. Ed. (October 2010): 59-7.
Inprasitha, M. Lesson Study in Thailand. In M. Isoda, M. Stephens, Y. Ohara & T. Miyakawa (Eds.), Japanese Lesson Study in Mathematics: Its Impact, Diversity and Potential for Educational Improvement. Singapore: World Scientific Publishing, 2007.
Lave, J. & Wenger, E. Situated learning: Legitimate peripheral participation. Cambridge. England: Cambridge University Press, 1991.
Lerman, S. Theories in practices: Mathematics teaching and mathematics teachers education. ZDM: The International Journal of Mathematics Education. 45,4 (2013): 623-631.
Lewis, C. Lesson Study: A Handbook of Teacher-Led Instructional Change. Philadelphia: Research for Better Schools, 2002.
Sowder, J. T. The mathematics education and development of teachers. In F. K. Lester (Ed.) Second handbook of research on mathematics teaching and learning. Charlotte: Information Age Publishing, 2007.
Stigler, J.W. and Hiebert, J. The Teaching Gap: Best Ideas from the World’s Teacher for Improving Education in the Classroom. New York: The Free Press, 1999.
Wenger, E. Communities of Practice: Learning, Meaning, and Identity. UK: Cambridge University Press, 1998.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ