บทเพลงแม่น้ำโขง : ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมความสัมพันธ์ไทย-ลาว

ผู้แต่ง

  • นิศานาจ โสภาพล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

บทเพลงแม่น้ำโขง, ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรม, ความสัมพันธ์ไทย-ลาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาของบทเพลงแม่น้ำโขงที่สะท้อนสังคมวัฒนธรรม ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมและศึกษาเพลงแม่น้ำโขงของไทยจำนวน 33 เพลง ทำการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเพลงแม่น้ำโขงโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่และทฤษฎีนิเวศวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่าบทเพลงแม่น้ำโขงมีเนื้อหาที่สะท้อนสังคมวัฒนธรรม สามารถแบ่งตามพฤติกรรมจากสังคมวัฒนธรรมออกเป็น 4 ลักษณะ คือ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์และผูกพันของไทย-ลาว พบมากที่สุด 2) เนื้อหาเกี่ยวกับนิเวศวัฒนธรรม 3) เนื้อหาด้านการรวมกลุ่มเกี่ยวกับครอบครัว และ 4) เนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาและประเพณี

References

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. เพลงลูกทุ่งอีสานกับการสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษาในผลงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2547.

ยศ สันตสมบัติ. มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

ศิริพร กรอบทอง. วิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย พ.ศ.2481-2535. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม :แนวคิดวิธีวิทยา และทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: อมรินทร์ก๊อปปี้, 2545.

อัมพร จิตรักษา. ศึกษาภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่ง ที่ขับร้องโดยเอกชัย ศรีวิชัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2543.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29

How to Cite

โสภาพล น. (2019). บทเพลงแม่น้ำโขง : ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมความสัมพันธ์ไทย-ลาว. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(2), 61–67. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/220931