การกำหนดขอบเขตนิยามความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
คำสำคัญ:
ความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด, การพยายามกระทำความผิด, กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการกำหนดขอบเขตนิยามความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องด้วยบทนิยามว่าด้วยความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดความผิดไว้ 5 ลักษณะคือ การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด อันเป็นลักษณะความผิดที่มีความร้ายแรงและความเสียหายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นการกำหนดบทนิยามที่กว้างมากจนเกินไป อันส่งผลให้กฎหมายขาดความชัดเจนแน่นอน และส่งผลเสียต่อกระบวนยุติธรรมทางอาญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดความรับผิดแก่ผู้พยายามกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ อันเป็นเรื่องที่ขัดแย้งต่อหลักการลงโทษทางอาญาที่กำหนดให้บุคคลจำต้องรับผิดแต่เฉพาะขอบเขตหรือการกระทำที่ตนได้กระทำโดยเจตนาโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้กระทำความผิดมากกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และนำมาซึ่งการดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้พยายามกระทำความผิด อันอยู่ในฐานะจำเลยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ จำเลยถูกลงโทษมากกว่าขอบเขตการกระทำที่ตนควรจะได้รับ และปิดโอกาสที่จำเลยจะได้รับในทางกฎหมายด้านต่าง ๆ เช่น การยกเว้นโทษอันเนื่องมาจากการยับยั้งหรือกลับใจในการกระทำความผิด หรือการได้รับดุลยพินิจในการรอการลงโทษ ฯลฯ เปรียบเทียบกับการกำหนดความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดในต่างประเทศไม่มีบทบัญญัติการลงโทษ
ในลักษณะดังกล่าว ทั้งต่างมีแนวโน้มที่จะนำมาตรการอื่น ๆ แทนการลงโทษทางอาญาเพื่อลดทอนความรุนแรงในคดียาเสพติด เช่น การมองผู้กระทำความผิดเป็นผู้ป่วย หรือการยกเลิกความผิดยาเสพติดในบางประเภท ฯลฯ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จักกำหนดความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เฉพาะลักษณะหรือพฤติการณ์ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เหมาะสมอย่างแท้จริง กล่าวคือความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ หรือความผิดยาเสพติดที่ร้ายแรงเท่านั้น โดยพิจารณาตาม มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ (International Crime Classification for Statistical Purposes - ICCS) โดยผู้เขียนจักเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุง คือ (1) แก้ไขบทบัญญัติมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดว่าด้วยบทนิยามความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดแต่เฉพาะความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และมีไว้ในครอบครองซึ่งประกอบด้วยพฤติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น (2) ศึกษาและอภิปรายเน้นย้ำถึงความเข้าใจเรื่องการลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นไปตามพื้นฐานความรับผิดของบุคคลในทางอาญาและสอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำและความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สังคม พร้อมด้วยตระหนักไปถึงผลกำหนดบทลงโทษทางอาญาที่มีผลถึงมาตรการทางอาญาในด้านอื่น ๆ
References
กมลชัย รัตนสกาวงศ์. (2538). สัมมนากฎหมายอาญาชั้นปริญญาโท (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์นิติธรรม.
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2566). ประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่: ประชาชนได้อะไรคดียาเสพติดจะลดลงหรือไม่. https://www.law.tu.ac.th/tulawinfographic27/
คณิต ณ นคร. (2563). กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์. (2563). มาตรการลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติดประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในประเทศต่าง ๆ ในโลก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110), 201-206.
เบญชญา ชาติกานนท์. (2562). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย: ศึกษากรณีคดียาเสพติด. วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 84-95.
ปกป้อง ศรีสนิท. (2563). กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ปราโมทย์ พันธ์สะอาด. (2561). รูปแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดเปรียบเทียบสู่แนวนโยบายที่ควรจะเป็น. วารสารธรรมศาสตร์, 37(2), 1-15.
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (2562). มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ (คำแปลภาษาไทย)(พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2559). นโยบายการปราบปรามยาเสพติดในอาเซียน. https://lawforasean.krisdika.go.th/Content/View?Id= 70&Type=1
อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2564). หลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมาย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3), 21-41.
United Nations Office on Drug and Crime (UNODC). (2015) International Classification of Crime for Statistical Purposes (ICCS). United Nations.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์