ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ เซ่งอั้น คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุธี อยู่สถาพร คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

จัดซื้อจัดจ้าง, มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล, ตรวจสอบได้

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้ได้ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยมุ่งเน้นศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ปัญหากรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการจัดซื้อจัดจ้างที่จะต้องเกิดความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

          จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีปัญหาเกี่ยวกับกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดราคากลางของส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบและการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ปัญหาเรื่องความยืดหยุ่นในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กับส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศไม่คุ้มค่า ไม่โปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และไม่สามารถตรวจสอบได้

          ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยให้กรมบัญชีกลางจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับราคากลางของทุกประเทศทั่วโลก เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนราชการในต่างประเทศสืบค้นในการใช้อ้างอิงแหล่งที่มาของราคากลาง รวมทั้งเห็นควรให้แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้อำนาจหน่วยงานของรัฐสามารถออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุขึ้นใช้เองได้ โดยผู้เขียนเห็นควรให้กระทรวงการคลังควรออกระเบียบกลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ เพื่อให้ส่วนราชการในต่างประเทศถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

References

กลุ่มยุทธศาสตร์การงบประมาณ. (2553). ธรรมาภิบาล: การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. วารสารการงบประมาณ, 19(7), 56-60.

กิจบดี ก้องเบญจภุช. (2553). หลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพบูลย์ ชูวัฒนกิจ. ทฤษฎีและหลักพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายมหาชน. https://elcpg.ssru.ac.th/paiboon_ch/pluginfile.php/54/

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2552). หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2562). ข้อความคิดและหลักกฎหมายบางประการของกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

Joseph Rowntree Foundation. (2005). The Independent Commission on Good Governance in Public Services. https://www.jrf.org.uk/good-governance-standard-for-public-services

KLPL. (2020). Government Procurement act 2020. https://elaw.klri.re.kr/eng_service/lawView.do? hseq=54781&lang=ENG

Legislation. (2006). The Public Contracts (Scotland) Regulations 2006. https://www.legislation.gov.uk/ssi/2006/1/contents

OECD iLibrary. (2016). The Korean Public Procurement Service: Innovating for Effectiveness Central purchasing in Korea:The Public

Procurement Service. https://read.oecd-ilibrary.org/governance/the-korean-public-procurement-service/central-purchasing-in-korea-the-public-procurement-service_9789264249431-4-en#page1

PPOM. (2007). The Public Procurement Act 2007. https://ppmo.gov.np/ image/data/files/acts_and_regulations/public procurement act 2063.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

เซ่งอั้น ณ., & อยู่สถาพร ส. . (2024). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ . วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 8(2), 216–234. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270290