การคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ที่มีความหลากหลายทางเพศ: ศึกษากรณีเด็กและเยาวชน ที่ถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน
คำสำคัญ:
เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ, อัตลักษณ์ทางเพศ, การคุ้มครองสิทธิบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาถึงแนวทางการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีความต้องการที่มีลักษณะเฉพาะและมีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากเด็กและเยาวชนเพศชายและเพศหญิง ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ควรได้รับการปฏิบัติที่มีความเหมาะสมกับอัตลักษณ์ทางเพศ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ โดยการคุ้มครองสิทธิยังคงพิจารณาจากเพศกำเนิดเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้เด็กและเยาวชนดังกล่าว ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเหมาะสมกับอัตลักษณ์ทางเพศ จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยคำนึงถึงเพศกำเนิดเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็กที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศด้วยความเท่าเทียม เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเหมาะสมกับอัตลักษณ์ทางเพศ ตั้งแต่ขั้นตอนการจำแนกเพศ การตรวจค้นร่างกายการจัดสถานที่ควบคุม รวมถึงความต้องการเฉพาะอื่น ๆ
ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนเอาไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ
References
ไชยันต์ กุลนิติ. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยศาลรัฐธรรมนูญ. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 52(18), 65-88.
ธรรศนัย อ่อนทอ. (2561). การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขัง: ศึกษากรณีกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:165944
ธานี วรภัทร. (2558). หลักกฎหมายว่าด้วยการบังคับโทษจำคุก (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2549). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชราภรณ์ กองอุบล. (2546). สิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องขังตามรัฐธรรมนูญ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://library.nhrc.or.th/ulib/dublinfull.php?f=all&ID=7162
ศูนย์ข้อมูลและสถิติกรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2565). รายงานสถิติคดีประจำปี พ.ศ. 2565. https://www.djop.go.th/navigations/
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2563). รวมบทความทางวิชาการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 18 ศาลรัฐธรรมนูญยึดหลักนิติธรรม ค้ำจุนประชาธิปไตยห่วงใยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน. แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
อวิการัตน์ นิยมไทย. (2552). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่คนไทยควรรู้. วารสารจุลนิติ, 6(4), 139-149.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์