กฎหมายต้นแบบว่าด้วยสัญญาทางปกครอง
คำสำคัญ:
กฎหมายต้นแบบ, สัญญาทางปกครอง, คดีพิพาทบทคัดย่อ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ดังนั้น ประเด็นสำคัญ คือ การพิจารณาว่าสัญญาลักษณะใดถือเป็นสัญญาทางปกครอง ซึ่งมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นิยามเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองโดยกำหนดลักษณะสัญญาทางปกครองอันถือเป็นลักษณะด้านเนื้อหาของสัญญาไว้สี่กรณี คือ (1) สัญญาสัมปทาน (2) สัญญาให้จัดทำบริการสาธารณะ (3) สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค และ (4) สัญญาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ศาลปกครองสามารถพัฒนาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะสัญญาทางปกครองที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงสัญญาทั้งสี่กรณีตามคำนิยามเท่านั้นซึ่งการบัญญัติกฎหมายในลักษณะนี้ถือเป็นนิติวิธีในลักษณะเช่นเดียวกับแนวคิดของสัญญาทางปกครองตามกฎหมายฝรั่งเศสที่มีพัฒนาการของกฎหมายอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองโดยผ่านคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด อย่างไรก็ตาม สัญญาทางปกครองของไทยยังมีปัญหาหลายประการ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยสัญญาทางปกครองที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ รวมถึงไม่มีการกำหนดเนื้อหา เงื่อนไข และลักษณะสัญญาทางปกครอง ไว้อย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดความสับสน และมักเกิดเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เนื่องจากประเทศไทยยึดถือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จึงควรที่จะมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถให้ความคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของรัฐและประชาชนโดยส่วนรวมได้อย่างเหมาะสม
References
ณรงค์เดช สรุโฆษิต. (2553). การควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองในประเทศอังกฤษ. สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ณัฐพล สกุลเมฆา. (2561). ข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการไกล่เกลี่ยในคดีปกครองเยอรมัน. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ตรีเพชร์ จิตรมหึมา. (2562, 19 ธันวาคม). การควบคุมฝ่ายปกครองโดยหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง พิเคราะห์จากข้อความคิดไปสู่ ผลการปฏิบัติราชการทาปกครอง [การนำเสนอ]. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.
นิรัชรา พงศ์อาจารย์. (2562). ทิศทางของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายไทย. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 12(2), 113-146.
บุญอนันต์ วรรณพานิชย์. (2564). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง. วารสารกฎหมายปกครอง, 33(2). 1-35.
พัชฌา จิตรมหึมา. (2553). ข้อความคิดและหลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง. วารสารกฎหมายปกครอง, 27(3), 3-75.
พัชฌา จิตรมหึมา. (2560). แนวคิดและหลักการไกลเกลี่ยข้อพิพาทในศาลปกครองฝรั่งเศสที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ค.ศ. 2016 ตามประมวลกฎหมายความยุติธรรมทางปกครอง (code de justice administrative) ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส. ใน เอกสารเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อประกอบการพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 (น. 1-20). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
พัชฌา จิตรมหึมา. (2565). พิเคราะห์สัญญาทางปกครองตามกฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายไทย และแนวคิดในการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยสัญญาทางปกครอง. วารสารกฎหมายปกครอง, 34(3), 1-67.
สรวิศ ลิมปรังษี. (2550). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลประเทศอังกฤษ. วารสารศาลยุติธรรมปริทัศน์, 1(3). 111-119.
Advice and Counsel Incorporated. (2001). Public Contracts. http://law.freeadvice.com. law/613us.html. December 2001.
Craig Paul. (2010). Angleterre et pays de galles/ England and Wales, Droit comparé des Contrats Publics (Comparative Law on Public Contract). Bruylant.
Jean Waline. (2000). Droit administrat.f (18 éd.). Dalloz.
Renders David. (2015). Droit administratif general: Collection Centre Montesquieud’études de l’action publique. Bruylant.
Rivero Jean et Jean Waline. (2000). Droit administrat.f (18 éd.). Dalloz.
Voir, Pierre Serrand. (2015). Droit administratif Tome I: Les actions administratives. Presses universitaires de France.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์