วิเคราะห์เปรียบเทียบการควบคุมกฎหมาย มิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, 2550 และ 2560

ผู้แต่ง

  • อรทัย อินต๊ะไชยวงค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • กฤติญา สุขเพิ่ม คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ตรีเนตร สาระพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • เอกพงษ์ สารน้อย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

เปรียบเทียบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ การที่รัฐธรรมนูญมีสถานะสูงกว่ากฎหมายอื่นทั้งหลาย กฎหมายอื่นทั้งหลายย่อมไม่อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ เพื่อให้ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญมีความศักดิ์สิทธิ์ในการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ไม่ถูกละเมิดหรือทำลายหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ละฉบับแตกต่างกัน จึงต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, 2550 และ 2560 เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีหลักเกณฑ์ วิธีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญที่เหมือนและแตกต่างกัน

ความแตกต่างในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ พบว่า 1) การควบคุมร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมีความแตกต่างกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ไม่มีบทบัญญัติการควบคุมร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยตรงว่าบุคคลใดมีสิทธิเข้าชื่อให้มีการควบคุมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติไว้โดยตรง 2) การควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540, พ.ศ.2550 และ พ.ศ. 2560 ได้วางหลักการควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ลักษณะเดียวกันกับการควบคุมร่างพระราชบัญญัติ

References

นาถะ ดวงวิชัย. (2560). เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญปี 2540–2550 และรัฐธรรมนูญ 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, และนายนันทชัย เพียรสนอง. (2550). คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

โภคิน พลกุล. (2524). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญไทย. ศูนย์การพิมพ์พลชัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. หน้าที่ 1-99.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้าที่ 1-127.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้าที่ 1-90.

วิจิตรา ฟุ้งลัดดา. (2523). ระบบควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลงานวิจัย [ThaiLis].

สุวิมล แจ้งสว่าง. ( 2554). สรุปคำพิพากษาของศาลและผลการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่น่าสนใจ. วารสารจุลนิติ, 8(2), 125-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29