อำนาจยึดคริปโทเคอร์เรนซี ภายใต้พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

ผู้แต่ง

  • พิริยาภรณ์ ศาสตร์บัณฑิตย์ คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จิรวุฒิ ลิปิพันธ์ คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

คริปโทเคอร์เรนซี, การฟอกเงินคริปโทเคอร์เรนซี, การยึดคริปโทเคอร์เรนซี, โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

บทคัดย่อ

ปัญหาการฟอกเงิน (Problem of Money Laundering) เป็นปัญหาสะสมที่มีมานาน และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ซึ่งในยุคแรก อาชญากรรม (Crime) มักมีรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อนและมักจะเป็นรูปแบบที่มีความรุนแรงและเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานของชีวิต (Fundamental Factors of Life) เมื่อสังคมได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบของการก่ออาชญากรรมจึงเกิดขึ้นหลายรูปแบบและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีการนำเอาลักษณะของการประกอบธุรกิจหรือเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ มาผสมผสานกับการกระทำความผิดจนยากแก่การบังคับใช้กฎหมาย ต่อมาเมื่อคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เหล่าอาชญากรจึงหันมาก่ออาชญากรรม โดยการนำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินการฟอกเงินผ่านกระบวนการของคริปโทเคอร์เรนซีให้ดูเสมือนว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากการฟอกเงินผ่านคริปโทเคอร์เรนซีนั้นเป็นการฟอกเงิน โดยอาศัยเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ จึงทำให้มีความซับซ้อนในทางระบบเทคโนโลยี ประกอบกับมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องหลายฉบับ จึงทำให้การตัดวงจรของการประกอบอาชญากรรมดังกล่าวมีความซับซ้อนยุ่งยาก โดยการดำเนินการบังคับคดีแก่คริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีลักษณะแตกต่างกับทรัพย์สินประเภทอื่นที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ซึ่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 (Anti-Money Laundering Act B.E. 2542) มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยึดคริปโทเคอร์เรนซีไว้เป็นการเฉพาะ และปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะของคริปโทเคอร์เรนซีแต่อย่างใด ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจในการยึดคริปโทเคอร์เรนซียังไม่ชัดเจนว่า กรณีใดที่เจ้าหน้าที่มีอำนาจกระทำได้ และกรณีใดที่เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจกระทำ รายการที่เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีคืออะไร รายการใดบ้างที่สามารถถูกยึดได้ และมีวิธีการยึดหรืออายัดอย่างไร  ดังนั้น กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ก้าวทันยุคสมัยที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื้อหาในบทความนี้มุ่งเน้นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินและการยึดคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

References

กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์. จีนประกาศให้การทำธุรกรรมด้วย 'บิทคอยน์' ทุกประเภทผิดกฎหมาย. https://shorturl.asia/vC5Dt

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2540). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสูต กัจฉมาภรณ์. (2564). การฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส Money Laundering by Cryptocurrency Transaction. วารสารบริหารธุรกิจและ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(2), 1-18.

วีระพงษ์ บุญโญภาส. (2550). กระบวนการยุติธรรมกับกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นิติธรรม.

สมพัฒน์ มีมานัส และเสถียรภาพ นาหลวง. (2564). มาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 10(1), 129-162.

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. (2543). การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คู่มือประชาชน Anti-Money Laundering Act of 2020 ICBA Summary. https://shorturl.asia/U4AwP> pdf

Saifedean Ammous. (2565). The Bitcoin Standard ระบบการเงินทางเลือกใหม่ไร้ศูนย์กลาง (พิริยะ สัมพันธารักษ์ และพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว, ผู้แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์ บริษัท กรีน ไลฟ์ พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29