ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณี ในการได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง: ศึกษากรณีการเนรเทศคนต่างด้าว
คำสำคัญ:
สิทธิของคู่กรณีในการได้รับฟัง, สิทธิของคนต่างด้าวในการได้รับฟัง, กระบวนพิจารณาทางปกครองในการเนรเทศคนต่างด้าว, การเนรเทศคนต่างด้าวบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า สิทธิของคู่กรณีในการได้รับฟังในกระบวนพิจารณาทางปกครองในกรณีการเนรเทศคนต่างด้าวนั้นมีหรือไม่ เนื่องจากหลักการรับฟังคู่กรณีในกระบวนการพิจารณาคดีทางปกครองมีความสำคัญ เพราะเป็นหลักประกันความยุติธรรมสำหรับประชาชนซึ่งเป็นคู่กรณีผู้จะได้รับผลกระทบจากการกระทำของฝ่ายปกครองสามารถใช้ปกป้องตนเองจากการใช้อำนาจออกคำวินิจฉัยสั่งการของฝ่ายปกครองที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของตน
จากการศึกษา พบว่า ในประเทศไทยนั้นกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมิได้ให้สิทธิแก่คนต่างด้าว ซึ่งจะถูกเนรเทศในการได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่ก่อนออกคำสั่งเนรเทศตน กล่าวคือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 วรรคสอง (6) กำหนดให้สามารถออกกฎกระทรวงในเรื่องที่เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องให้คู่กรณีมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนได้ และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ในวรรคสอง (6) กำหนดให้การสั่งให้เนรเทศเป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) และกฎหมายที่เกี่ยวกับการเนรเทศ คือ พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติให้มีการรับฟังคนต่างด้าวที่จะถูกเนรเทศก่อนออกคำสั่งเนรเทศ
แนวความคิดที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศ และดังนั้น บทความนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยให้มีบทบัญญัติคุ้มครองคนต่างด้าวโดยให้คนต่างด้าวซึ่งจะถูกเนรเทศได้รับสิทธิที่ได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ก่อนออกคำสั่งเนรเทศ
ด้วยเหตุที่กฎหมายของประเทศไทยมิได้ให้สิทธิคนต่างด้าวมีสิทธิเข้าร่วมในการต่อสู้ในกระบวนการ พิจารณาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการเนรเทศคนต่างด้าวก่อนมีการออกคำสั่งเนรเทศคนต่างด้าวจึงเป็นการขัดต่อ หลักกฎหมายหรือแนวความคิดที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ ตลอดจน กฎหมายระหว่างประเทศ และดังนั้น บทความนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 2
(พ.ศ.2540) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. 2522 โดยให้มีบทบัญญัติคุ้มครองคนต่างด้าวโดยให้คนต่างด้าวซึ่งจะถูกเนรเทศได้รับสิทธิที่ได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ก่อนออกคำสั่งเนรเทศ
References
บรรเจิด สิงคะเนติ และสมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์. (2542). หลักความได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส, วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 14(40), 46-47 และ 61.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐาน สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. (2566). คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประสิทธิ เอกบุตร. (2551). กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1 สนธิสัญญา. สำนักพิมพ์วิญญูชน.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (มปป). สรุปประเด็นสำคัญของกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไทยและกฎหมายวิธีพิจารณาเรื่องทางปกครองเยอรมัน [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2549). วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน. สำนักพิมพ์วิญญูชน.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2532). การควบคุมการใช้ดุลพินิจทางปกครองโดยองค์กรตุลาการ. วารสารกฎหมายปกครอง, 25(8), 33-58.
วรรณชัย บุญบำรุง. (2559). กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับหลักนิติธรรม [เอกสารวิชาการส่วนบุคคล]. การอบรมหลักสูตรนิติศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/
American Bar Association. (2023). Rule of Law. https://www.americanbar.org/groups/public_education/resources/rule-of-law/
Dicey, A.V. (1982). Introduction to the Study of the Law of the Constitution. Liberty Classics.
ECHR. (2023). European Convention on Human Rights. https://www.echr.coe.int › Documents › Guide Ar, p.5
Harris, David, O'Boyle, Michael, Bates, Ed, & Buckley, Carla. (2018). Law of the European Convention on Human Rights, Fourth Edition. Oxford University Press.
Law Corner. (2021). Audi Alteram Partem–Meaning, Elements and Exemptions. https://lawcorner.in/audi-alteram-partem-meaning-elements-and-exemptions/
Nation Academy of Customs Indirect Taxes & Narcotics. (2023). Principles of Natural Justice. https://nacin.gov.in/resources/ file/e-books/Principles%20of%20natural%20justice.pdf
République française. (2023). Expulsion of a Foreigner from France. https://www.service-public.fr›telechargerPdf› v..
UNHCR. (2023). Germany: Act Concerning the Entry and Residence of Aliens in the Territory of the Federal Republic (Aliens Act). https://www.refworld.org/docid/3ae6b55a0.html
United Nation. (2014). Draft Articles on the Expulsion of Aliens, with Commentaries. https://legal.un.org/ilc/texts/instruments/ english/commentaries/9_12_2014.pdf
United Nation. (2023). International Covenant on Civil and Political Rights. https://www.ohchr.org/en/ instruments-mechanisms/ instruments/ international-covenant-civil-and-political-rights
United Nations. (2023). Undesirable Aiens’ Immiration Control and Deportation. https://lawexplorer.com
United Nations. (2023). Universal Declaration of Human Rights. https://www.un.org/en/about-us/universal-declaration-of-human-
rights
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์