แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมของ ‘เฮเสียด’

ผู้แต่ง

  • พิศาล มุกดารัศมี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

เฮเสียด, ปกรณัมเผ่าพันธุ์, เทวายุติธรรม, ความยุติธรรมตามธรรมชาติ, ความยุติธรรมของบ้านเมือง

บทคัดย่อ

เฮเสียดกวีกรีกโบราณมีชีวิตประมาณศตวรรษที่หกก่อนคริสตกาล
เสนอความรู้และความคิดทางสังคมการเมืองผ่านบทกวี ‘Theogony’ กับ ‘Works and Days’ ที่ให้ความรู้ถึงกำเนิดเหล่าเทพเจ้าของกรีกโบราณ ความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าเทพเจ้าด้วยกันและกับมนุษย์ในลักษณะของมานุษยรูปนิยม (Anthropomorphic) และให้ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ

เนื้อหาในบทกวีของเฮเสียดแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในเรื่องพัฒนาการกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ (Myth of Races) และธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมาอาศัยอยู่รวมกัน เริ่มตั้งแต่เผ่าพันธุ์ทองคำ เงิน ทองสัมฤทธิ์ วีรบุรุษและเหล็กตามลำดับ โดยความเสื่อม ความตกต่ำลงของเผ่าพันธุ์มนุษย์ มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติตัวไร้ ซึ่งคุณธรรม ธรรมชาติที่ชอบใช้กำลัง ความรุนแรง และอาวุธตัดสินปัญหา ปราศจากความยุติธรรม เฮเสียดนำเสนอความยุติธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ภายใต้แนวคิดเทวายุติธรรม ที่รับมอบมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความยุติธรรมในโลกธรรมชาติและความยุติธรรมที่เกิดขึ้นมาจากมนุษย์ตกลงกัน โดยการอ้างความยุติธรรมทั้งสามแบบมักนำไปสู่ความขัดแย้งกันบ่อยครั้ง เนื่องจากคู่ขัดแย้งใช้ความยุติธรรมมาสนับสนุน ปกป้องผลประโยชน์ตนเอง ในลักษณะของการอ้างความยุติธรรมเพื่อสร้างความอยุติธรรม

เรื่องเล่าในเชิงเทพปกรณัม คุณธรรมและความยุติธรรมที่เฮเสียดนำเสนอ คือความรู้ทางปรัชญาการเมืองที่มีความหมาย และคงความสำคัญต่อพัฒนาการความคิดทางการเมืองกรีกในยุคต่อมา ทั้งกับโสเกรตีส เพลโต และอริสโตเติล รวมไปถึงการอาศัยอยู่ร่วมกันในรูปแบบของระบอบการปกครองต่าง ๆ ทั้งฝ่ายผู้ปกครองและใต้การปกครองจะต้องมีความรู้ในเรื่องคุณธรรมและความยุติธรรมใช้กำกับ

References

Barnes, Jonathan. (1987). Early Greek Philosophy (Translated and Edited with an Introduction by Jonathan Barnes). Penguin Books.

Cornford, F.M. (1912). From Religion to Philosophy: A Study in the Origins of Western Speculation. Longmans.

Cornford, F.M. (1952). Principium Sapientie: The Origins of Greek Philosophical Thought. Cambridge University Press.

Detienne, Marcel. (1986). The Creation of Mythology (Translated from the French by Margaret Cook). The University of Chicago Press.

Eliade, Mircea. (1961). The Sacred and the Profane. The Nature of Religion (Translated from the French by Willard R. Trask). Harper & Row.

Gernet, Louis. (1981). The Anthropology of Ancient Greece (Translated by John Hamilton, S.J. and Blaise Nagy). The Johns Hopkins University Press.

Hesiod. (2012). Theogony and Works and Days (Translated and with Introductions by Catherine M. Schlegel and Henry Weinfield). University of Michigan Press.

Hesiod & Theognis. (1973). Works and Days (Translated and with Introductions by Dorothea Wender). Penguin Books.

Hesiod. (1985). The Poems of Hesiod (Translated with an Introduction and Comments by R.M. Frazer). (Illustrated by Mary Sue Roniger). University of Oklahoma Press.

Hesiod. (1988). Theogony and Works and Days (Translated with an Introduction and Notes by M.L. West). Oxford University Press.

Hunter, Richard. (2014). Hesiodic Voices: Studies in the Ancient Reception of Hesiod's Works and Days. Cambridge University Press.

Kirk, Geoffrey Stephen. (1988). Myth. Its Meaning and Functions in Ancient and Other Cultures. University of California Press.

Leeming, David Adams. (1992). The World of Myth. An Anthology. Oxford University Press.

Lloyed-Janes, Hugh. (1971). The Justice of Zeus. University of California. Press.

Montanari, Franco, Rengakos, Antonios, & Tsagalis, Christos. (2009). Brill's Companion to Hesiod. Martinus Nijhoff and VSP.

Strauss, Claude Levi. (2001). Myth and meaning. Routledge.

Skinner, Quentin (2010). The Foundations of Modern Political Thought. Volume 1: The Renaissance Renaissance. Cambridge University Press.

Tilly, Charles. (1992). Coercion, Capital, and European States AD 990-1992. Blackwell Publishing.

Vernant, Jean-Pierre. (2006). Myth and Thought Among the Greeks (Translated by Janet Lloyd with Jeff Fort). Zone Books.

Vernant, Jean-Pierre. (1984). The Origins of Greek Thought (Translated from the French). Cornell University Press.

Vernant, Jean-Pierre. (2002). The Universe, The Gods, and Men: Ancient Greek Myths (Translated from the French by Linda Asher). Perennial.

Vernant, Jean-Pierre. (1991). The Greeks (Translated by Charles Lambert and Teresa Lavender Fagan). The University of Chicago Press.

Vico, Giambattista. (2001). New Science. Principles of the New Science Concerning the Common Nature of Nations (3rd ed). (Translated by David Marsh with an introduction by Anthony Grafton). Penguin Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29