ปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่ ศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปัญยพัชร์ เรืองสำราญ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เสาวธาร โพธิ์กลัด คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปิ่นหทัย หนูนวล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัญหาและการสนับสนุนทางสังคม, ผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

บทคัดย่อ

เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ต้องได้รับการรักษาในสถานรักษาที่มีศักยภาพและมีกระบวนการรักษายาวนานตามลักษณะของโรค ส่งผลต่อผู้ดูแลทั้งด้านร่างกาย ด้านจิต ใจและด้านสังคม การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ และเพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ จำนวน 73 ราย โดยคัดเลือกจากการสุ่มตามสะดวก และการสัมภาษณ์นักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 2 ราย โดยใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเข้า และเกณฑ์การคัดออก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการถอดถ้อยคำจากการสัมภาษณ์

ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ มีภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด 2) การสนับสนุนของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ มีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสนับสนุนด้านอารมณ์และจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการสนับสนุนทางสังคมด้านเครือข่ายทางสังคม (r =.231, P < 0.05) ข้อมูลเชิงคุณภาพสะท้อนข้อมูล 6 ประเด็นหลัก คือ 1) ปัญหาทางด้านร่างกาย 2) ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ 3) ปัญหาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ 4) การสนับสนุนด้านอารมณ์จิตใจ 5) การสนับสนุนด้านการยอมรับและเห็นคุณค่า 6) การสนับสนุนด้านเครือข่ายทางสังคม

References

ชวิศา รัตนกมลกานต์, ศรีมนา นิยมค้า, และอุษณีย์ จินตะเวช. (2564). สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และภาระการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบําบัด. วารสารพยาบาลสาร, 48(2), 232-242.

นันทกา สวัสดิพานิช, บุศรา ชัยทัศน์, และอาทิติยา แดงสมบูรณ์. (2564). ปัญหาการดูแลสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของเด็กที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะแต่กำเนิด: การรับรู้ของผู้ดูแล. วารสารสภาการพยาบาล, 36(2), 118.

บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น, และผกาพรรณ เกียรติชูสกุล.(2554). คู่มืออุบัติการณ์ สาเหตุและการป้องกัน ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักพิมพ์ศูนย์วิจัย คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เบ็ญจมาศ สลิลปราโมทย์ (2565). ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้า. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 115-122.

ปาจรีย์ ศรีไทย. (2562). บทบาทพยาบาลในการดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ โดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง: การบูรณาการแนวคิดของโอเร็ม และแนวคิดการมีส่วนร่วมของดันสท์และทริเวทย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีษะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(3), 372.

เพิ่มพูน สานิชวรรณกุล, ณัฐสุดา เต้พันธ์, และกุลยา พิสิษฐ์สังฆการ. (2563). ประสบการณ์ทางจิตใจในระยะแรกของพ่อแม่หลังจากลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(1), 62-70.

ภาสกร คุ้มศิริ, และอุ่นเรือน เล็กน้อย. (2565). ปัจจัยพยากรณ์การตีตราบาปทางสังคมของผู้ปกครองต่อเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยสมาธิสั้น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(3), 318.

มารศรี ชัยวรวิทย์กุล, และคณะ. (2555). การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่สำหรับทัตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟัน. บริษัททรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด.

มารยาท โยทองยศ, และปราณี สวัสดิสรรพ. (ม.ป.ป). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. http://www.fsh.mi.th/km/wp-ontent/uploads/ 2014/04/resch.pdf

ยุพิน ปักกะสังข์, สุธรา ประดับวงษ์, ชิโนรส ปิยกุลมาลา, และอารยา ภิเศก. (2565). ปัญหาการเข้ารับบริการของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่. วารสารศรนครินทร์เวชสาร, 37(4), 333-334.

ลัดดาวัลย์ สุนันท์ลิกานนท์, และวรนุช เชษฐภักดีจิต. (2560). แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่โดยทีมสหวิชาชีพ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 2(2), 17.

วัชราภรณ์ คำแสน, และมาดี ลิ่มสกุล. (2564). บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยมะเร็งเด้านม. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 29(1), 42.

ศูนย์ปากแหว่งเพดานโหว่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2558). คู่มือการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่แรกเกิด-3 ปี. ม.ป.ท.

สุทธิพงษ์ ปังคานนท์, ศิราภรณ์ สวัสดิวร, จุฬาลักษณ์ คุปตานนท์, และประภาศรี กาบจันทร์. (2559). ความชุกขอความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 5(2), 89.

สุภาพร ชินชัย, และคณะ.(2560). ปัญหาการรับประทานอาหารและการรักษาในเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่. วารสารเทคนิคการแพทย์, 50(3), 533-542.

แสงระวี สุทัศน์, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, และอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่าง ความแตกฉาน ทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 40(4), 62-63.

อโนชา ทัศนาธนชัย, พิชามญชุ์ ปุณโณทก, วรรณรัตน์ ลาวัง, สุรภา สุขสวัสดิ์, และรัชนี สรรเสริญ. (2563). ปัจจัยทำนายความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชของญาติผู้ดูแลจังหวัดชลบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 113.

อลิษา ทรัพย์สังข์, อุษณีย์ จินตะเวช, และสุธิศา ล่ามช้าง. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของผู้ดูแลในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันวัยหัดเดินที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 146.

Barrera, Manuel Jr., Sandier, Irwin N., & Ramsay, Thomas B. (1981). Preliminary Development of a Scale of Social Support: Studies on College Students I American. Journal of Community Psychology, 9(4), 438.

Cobb, S (1976). Social Support 25 a Moderator of Life Stress. Psychosomatic Medicine, 38(5), 300-314.

House, James S. (1981). Work, Stress and Social Support. Addison-Wesley Pub. Co.

Zeraatkar, Maryam, et al. (2019). A Qualitative Study of Children’s Quality of Life in the Context of Living with Cleft Lip and Palate. Pediatric Health, Medicine and Therapeutics, 10, 13-20. DOI: 10.2147/PHMT.S173070

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29