ปัญหาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในเหตุที่จะออกหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา ลิ่มปี่ นักศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

มาตรการบังคับทางอาญา, กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา, เหตุออกหมายจับ, การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้ศึกษาถึงเหตุออกหมายจับ โดยศึกษาถึงหลักการ เงื่อนไข และการใช้บังคับมาตรการจับของไทยและประเทศเยอรมัน เนื่องจากการจับเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในร่างกายของบุคคล เงื่อนไขในการใช้บังคับจึงต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและมีขึ้น เพื่อให้การดำเนินคดีอาญาดำเนินการไปได้โดยไม่มีปัญหาเท่านั้น  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอันเกิดจากการใช้มาตรการจับ

จากการศึกษา พบว่า เงื่อนไขของเหตุออกหมายจับตามมาตรา 66 (1) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ยังไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของการจับ ทั้งการกำหนดอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี เป็นเงื่อนไขของเหตุออกหมายจับได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานกว่า 89 ปีแล้ว จึงไม่สอดคล้องกับกฎหมายอาญาที่ได้กำหนดอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าสามปี ไว้มากกว่า 170 ฐานความผิด อาจเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้มาตรการจับได้ง่ายเกินกว่าความจำเป็น ในขณะที่กฎหมายต่างประเทศได้กำหนดเงื่อนไขในการใช้บังคับไว้อย่างเหมาะสม ดังนั้น เหตุออกหมายจับตามมาตรา 66 (1) จึงต้องนำเงื่อนไขของเหตุออกหมายจับตามเหตุเฉพาะเจาะจงอื่น เช่น เหตุว่าจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่ออันตรายประการอื่นมาประกอบด้วย และในส่วนของเหตุออกหมายจับตามมาตรา 66 (2) เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะไปก่ออันตรายประการอื่นโดยการกระทำผิดซ้ำ ซึ่งเป็นเหตุออกหมายจับในลักษณะการป้องกันสังคมไว้ล่วงหน้าในความผิดที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ กรณีดังกล่าวจึงอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควร จึงควรต้องกำหนดเงื่อนไขให้มีความสมเหตุสมผลเป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน โดยควรกำหนดให้ใช้กับคดีในบางประเภทที่มีอัตราการกระทำความผิดซ้ำเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นควรกำหนดเงื่อนไขของเหตุออกหมายจับตามมาตรา 66 โดยให้มีเงื่อนไขในการใช้บังคับให้เหมาะสมเป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของการจับซึ่งอาจนำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายประเทศเยอรมันมาปรับใช้ โดยคำนึงหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นหลักประกันที่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้

   

References

กรมราชทัณฑ์, สถิติ 5 อันดับประเภทคดีที่มีอัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. http:correct.go.th/recstats/index.phh> https://www.echr.coe.int/documents/ guide_art_5_eng.pdf

กรรภิรมย์ โกมลารชุน, (2561). ทฤษฎีทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางอาญา:ศึกษาเฉพาะการควบคุม, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 10(1), 8-11.

คณิต ณ นคร. (2564). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์กรุงเทพวิญญูชน.

ณรงค์ ใจหาญ. (2556). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์กรุงเทพวิญญูชน.

ธานี วรภัทร์. (2562). การปฏิรูปการสอบสวนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย. วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, 30(2), 1-15.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2555). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์กรุงเทพวิญญูชน.

ประพันธ์ นัยโกวิท. (2561). การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ. บทบัณฑิตย์, 52(4), 84-85.

สมยศ เชื้อไทย. (2555). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์กรุงเทพวิญญูชน.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจน์พัฒน์, (แปล) (2561). การขังในระหว่างสืบสวนและหลักเกณฑ์การร้องขอในเรื่องดังกล่าวในนิติรัฐ-ภาพกว้างของบทกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, ดุลพาห, 65, 109-130.

Doehring, K. (2004). Allgemeine Staatslehre, Mueller.

OLG Frankfurt StV. (1994). 583 ff.; OLG Hamburg StV (2000). 373.

Rich, Verman. (1975). Law and The Administration of Justice. John Wiley & Sons.

Guide on Article 5 of the European Convention on Human Rights,

Magistrates, Welsher P. Court. (2013). Simple Bail Structure. https://www.cps.gov.uk/sites/default/files/ documents/legal_guidance/Bail-Annex-1-2019.doc.

Stone, J. (1950). The Province and Function of Law, Cambridge : Harvard University ; P. Van Dijk. (1980) Judicial Review of Governmental Action and the Requirement of an Interest to Sue. Sijthoff & Noordhoff.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27