การประเมินความต้องการจำเป็นและแนวทางการเสริมสร้าง พลังอำนาจครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • อภิชา วัฒน์โรจนกร นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อย
  • วิชิต กำมันตะคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการจำเป็นด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจครู ของครูในสถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครู โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 260 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยกลุ่มครูกระจายสัดส่วนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง โดยการเทียบจำนวนประชากรแต่ละขนาดของโรงเรียนกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจครู เท่ากับ 0.82 และแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านการสื่อสารภายในองค์กร ด้านการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ส่วนด้านการสร้างบรรยากาศมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการเสริมสร้างพลังอำนาจครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านการมอบอำนาจหน้าที่และด้านการสื่อสารภายในองค์กร ด้านการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ด้านแรงจูงใจ และด้านการสร้างบรรยากาศมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) แนวทางการการเสริมสร้างพลังอำนาจครู โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญสามารถทำได้ดังนี้ การมอบอำนาจหน้าที่ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาบุคลากร การสื่อสารภายในองค์กร การสร้างแรงจูงใจ การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และการสร้างบรรยากาศ

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2542). กระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การเรียนรู้. เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ปแมนเนจเมนท์ จํากัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กระทรวงศึกษาธิการ.

กษม โสมศรีแพง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ส.เอเชียเพรส.

กาญจนา มีศิลปวิกภัย. (2556). ความรู้เบื้องต้นและทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฑารัตน์ บันดาลสิน. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานเป็นทีมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับผลผลิตในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เฉลิมชัย แก้วมณีชัย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. บริษัท วี.พริ้นท์.

นวิยา ผ่องพรรณ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานเป็นทีมและการธำรงรักษาบุคลากรกับความตั้งใจคงอยู่ในงาน

ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วิเชียร วิทยอุดม. (2558). ทฤษฎีองค์การ. ธนธัชการพิมพ์.

สุพัตรา ทิพย์ทำมา. (2557). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27