ปัจจัยทำนายการปรับตัวทางสังคมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ด่านส่งเสบียง นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การปรับตัวทางสังคม, ความเป็นไทย, โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชสระแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการปรับตัวทางสังคมและปัจจัยทำนายการปรับตัวทางสังคมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 4–5 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จำนวน 286 ราย ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) การปรับตัวทางสังคมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.78 และ 2) ปัจจัยทำนายการปรับตัวทางสังคมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม รายได้ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการรับรู้ความรุนแรงของโรค โดยทั้ง 5 ตัวแปร สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 47.1

References

กนิษฐา จันทรคณา และฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ. (2560) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการดูแลตนเองและความสุขของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 1–13.

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (บ.ก.). (2565). ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ

กลุ่มพัฒนานโยบายระดับประชากร.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตประเทศไทย. (2563). Thailand Renal Replacement Therapy: Year 2020. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.

คลินิกโรคไตชะลอไตเสื่อม. (2564). จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับการรักษาเพื่อการบำบัดทดแทนไต ณ คลินิกโรคไตวายเรื้อรัง. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว.

จำรัส สาระขวัญ และคณะ. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2). 153–164.

ชฎากร บุญสิน และคณะ. (2564). พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 2(2), 14–24.

โชติกา พลายหนู. (2560). การเสริมพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวและลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ภายใต้แบบจำลองการปรับตัวของรอย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ญาดารัตน์ บาลจ่าย และคณะ. (2562). ประสบการณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในสังคมเมือง, วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไท, 9(3), 350–363.

ดลฤทัย บุญชู และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของผู้ดูแล ภาระในการดูแล แรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 61–78.

ดารา วงษ์กวน. (2560). ปัจจัยทำนายความแปรปรวนในการนอนหลับของผู้รอดชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีนุชา ทันวงศ์ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายสุขภาพอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 26–36.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นุชนาถ สุวรรณประทีป. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

น้ำฝน ฤทธิภักดี. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของวัยรุ่นภายหลังได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

เบญจพร จันคำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรฒ์ เชื้อแก้วจิญดา. (2559). การเห็นคุณค่าในตนเองของคนงานกวาดถนน สังกัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฏิวัติ คดีโลก. (2560). การศึกษาประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสิษฐ์ เวชกามา และคณะ. (2558). การศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย [รายงานผลการวิจัย]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ไพรัตน์ กาพาด. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในชุมชนภาคกลาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ภทรพรรณ อุณาภาค และขวัญชัย รัตนมณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 44–54.

ภาซีน่า บุญลาภ. (2561). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับตัวด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภาวดี เหมทานนท์ และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 1–14.

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์ และคณะ. (2561). ประสบการณ์และวิธีการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 1(2), 42–61.

รพีพรรณ สารสมัคร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 15(2), 92–107.

รุจิราพร ป้องเกิด. (2557). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). 9 มีนาคม วันไตโลก 2566 ตระหนักภัยใส่ใจไตป้องกันไว้ เน้นกลุ่มเสี่ยง. https://www.kkh.go.th/9-มีนาคม-วันไตโลก-2566-ตระหนั/

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. (2564). โรคไตเรื้อรัง ไม่ยากเกินเข้าใจ. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/461

วันวิสา รอดกล่อม และคณะ. (2555). การสนับสนุนทางสังคมและความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่มารับบริการของโรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 76–86.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2561). บทบาทพยาบาลในการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง, วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(1), 46–57.

สุณัฐชณา แสนมานิตย์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุภัทรา ผิวขาว และคณะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญปัญหาการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก. วารสาร มฉก. วิชาการ, 21(41), 123–136.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). 3 วิธีรักษาโรคไตเรื้อรัง. https://www.thaihealth.or.th/Content/36021-3%20%E0%B8%A7% E0%B8%B4

อรรถพล ศรีชิษณุวรานนท์ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 6(1), 23 – 36.

Carney, E.F. (2020). The Impact of Chronic Kidney Disease on Global Health. Nature Reviews Nephrology, 16(5), 251.

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3 rd ed.). Harper & Row.s

Iram Majeed, et al. (2020). Effect of Roy’s Adaptation Model Based Interventions on Quality of Life in Patients with Type II Diabetes. Bolan Society for Pure and Applied Biology, 9(1), 332–339.

Roy, C. (2009). The Roy Adaptation Model (3 rd ed.). Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27