การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานของกลุ่มเด็กและเยาวชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • วาสนา เลิศมะเลา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชำนาญการ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เบญจวรรณ บุญโทแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อภิรักษ์ บูรรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานของกลุ่มเด็กและเยาวชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและข้อจำกัดของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานของกลุ่มเด็กและเยาวชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลตำบล จำนวน 3 แห่ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ทฤษฎี แนวความคิด การสังเกตแบบมีส่วนร่วม หลักฐานเชิงประจักษ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวนรวม 25 คน โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ ตีความ นำเสนอ ผลการศึกษาด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา 1) การศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานของกลุ่มเด็กและเยาวชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า เทศบาลตำบลโนนชัยศรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการประยุกต์ใช้
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานเพื่อส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ในระดับแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เนื่องจากมีการส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชน ได้กำหนดนโยบาย แผนงาน และโครงการ/ กิจกรรม ร่วมกับภาคประชาชนและนำมาเป็นนโยบายของเทศบาล พร้อมทั้งได้รับบุคลากรใหม่จากเยาวชนจัดตั้งเหล่านี้ เข้ามาทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อสืบทอดงานและส่งต่องานจากรุ่นสู่รุ่น 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จและข้อจำกัดการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานของกลุ่มเด็กและเยาวชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความต่อเนื่องในการดำเนินงาน และด้านทุนมนุษย์และทุนทางสังคม ส่วนข้อจำกัด คือ ด้านโรคอุบัติใหม่ และงบประมาณ

References

ชวลิต สละ. (2556). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น (พิมพ์ครั้งที่ 6). วิภาษา.

เบญจวรรณ บุญโทแสง และคณะ. (2563). การศึกษาระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 4(2). 23-50.

ปิยะนิตย์ โอนพรัตน์วิบูล. (2557). การบริหารภาครัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 8). [เอกสารไม่มีการตีพิมพ์]. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537, https://www.wangkhoi.go.th/dnm_file/news/959012346_ center.pdf

ไพทูรย์ บุญวัฒน์. (2558). หลักการบริหารท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). [เอกสารไม่มีการตีพิมพ์]. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2565). https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html

รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2557). การบริหารงานภาครัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 8). [เอกสารไม่มีการตีพิมพ์]. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558) . ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernnization Theory). http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/ modernization-theory.html

วิกีพีเดียสารานุกรมเสรี. (2566). วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540. https://shorturl.asia/sqvfa

สถาพร เริงธรรม และคณะ. (2565). การพัฒนาการบริหารงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.[รายงานการวิจัยสมบูรณ์]. สำนักงานกองทุนสนับสนุนทุนการวิจัย (สกว.).

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (2561-2580). https://www.nesdc.go.th/download/ document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf

_____. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สามสิบ พ.ศ. 2566-2570. https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30