การจัดการศึกษาในระบบสำหรับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยในประเทศไทย: ศึกษากรณีโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561

ผู้แต่ง

  • ธนากรณ์ อินทร นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษาในระบบ, บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย, โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาในระบบสำหรับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยในประเทศไทยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561 ตามหลักการของรัฐไทย และเพื่อศึกษาข้อจำกัดของการจัดการศึกษาในระบบสำหรับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยในประเทศไทยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารโรงเรียน บุคลากรครู นักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทย และภาคประชาสังคม ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียน บุคลากรครู และภาคประชาสังคมเช่นมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เป็นต้น มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและผลักดันให้เด็กนักเรียนในฐานะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยให้ได้รับการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม โดยยึดหลักตามบทบาทของรัฐในการดำเนินการจัดการศึกษาที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และแนวทางการปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษา
แก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทยของกระทรวงศึกษาธิการ เช่นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพแก่นักเรียนในฐานะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยโดยไม่เลือกปฏิบัติและเท่าเทียมกับนักเรียนไทยเป็นเวลา 12 ปี และการจัดทำข้อมูลประจำตัวให้กับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาและการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตามยังเกิดข้อจำกัดของการจัดการศึกษาในระบบแก่บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย เช่น การปรับตัวกับสังคมและวัฒนธรรมของไทย ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระบบแก่นักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทย และข้อจำกัดของทรัพยากรในโรงเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือและแนวทางปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย. สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ และอักษร สวัสดี. (2555). “การจัดการศึกษาในระบบแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทยในประเทศไทย กับการขับเคี่ยวของกระแสชาตินิยม และข้ามชาตินิยม: ศึกษากรณีโรงเรียนวัดศิริมงคล จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 33(2): 203–213.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย.

พัทธนารี จันทร์ทอง. (2557). สิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติ: ศึกษากรณีประเทศไทยและประเทศลาว. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ 8(1), 81-92.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1–90.

ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว. (2556). การเข้าถึงและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ: กรณีศึกษาพื้นที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประชากรศึกษา, มหาวิทยาลัยมหิดล). ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. (2557). การศึกษาของบุตรหลานแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา. (2561). สถิตินักเรียนที่เป็นบุคคลที่ไม่มีหลักฐานหรือไม่มีสัญชาติไทยสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561. สำนักงานการศึกษา.

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา. (2561). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. สำนักการศึกษา.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2560). สถิติจำนวนคนต่างที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรประจำเดือนธันวาคม. กระทรวงแรงงาน.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2561). สถิติจำนวนคนต่างที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือน มกราคม. กระทรวงแรงงาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30