มาตรการทางกฎหมายต่อการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิดทุจริตต่อหน้าที่ของข้าราชการพลเรือน และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
ริบทรัพย์, ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด, ทุจริตต่อหน้าที่บทคัดย่อ
ข้าราชการพลเรือนและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหากมีการกล่าวหาโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัยหรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่ากระทำผิดวินัยโดยการกล่าวหาว่ากระทำความผิดทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นมูลฐานความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ไม่ได้กำหนดขอบเขตแห่งการริบทรัพย์สินอันเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริต
ต่อหน้าที่และกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและชี้มูลความผิดทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการซึ่งเป็นการลงโทษทางวินัยโดยยังขาดการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพี่อพิจารณาและ
มีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ผู้ถูกกล่าวหา ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บทความนี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการกำหนดกระบวนการขั้นตอนและวิธีการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของข้าราชการพลเรือนและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป
References
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.). (2566). ข่าวสำนักงาน ป.ป.ช. https://www.nacc.go.th
สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2563). แนวทางการป้องกันและลดความสูญเสียงบประมาณจากการทุจริต. https://www.parliament.go.th
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547. (2547, 12 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121. ตอนพิเศษที่ 70 ก.
มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ และคณะ. (2554) การศึกษาลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริตในองค์กรสาธารณะนอกระบบราชการ. สำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ (วช.).
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561. (2561, 11 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. 135 ตอน 52 ก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์