มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสารเคมีในการเกษตร
คำสำคัญ:
มาตรการทางกฎหมาย, สารเคมี, การเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาถึงความหมาย แนวความคิด และพัฒนาการของกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมสารเคมีในการเกษตร เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารเคมีในการเกษตรเพื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมสารเคมีในการเกษตร ที่มีผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ เพื่อเสนอแนะแนวทางด้านกฎหมายในการควบคุมสารเคมีในการเกษตรอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป
การวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นต่าง ๆ
ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยผู้ศึกษามีข้อค้นพบ ดังนี้
การขึ้นทะเบียน กฎหมายไทยมีความสอดคล้องกับสหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย โดยกำหนดให้มี “ตัวแทนในการจัดการสารเคมี” และควรกำหนดให้มี “การใช้ข้อมูลร่วมกัน” ในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายของประเทศไทย รวมทั้งควรปรับปรุงแก้ไข อายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ควรมีอายุ 3 ปี นอกจากนี้มาตรการในการต่ออายุใบอนุญาตนั้น ควรปรับปรุงมาตรการในการต่ออายุใบอนุญาตจะต้องมีมาตรฐานที่เท่ากันหรือมากกว่าตอนยื่นคำขออนุญาตขึ้นทะเบียน
การผลิตหรือนำเข้า กฎหมายไทยมีความสอดคล้องกับสหภาพยุโรป และประเทศออสเตรเลีย แต่ไม่สอดคล้องกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า กฎหมายไทยควรปรับปรุงแก้ไข โดยกำหนดให้วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะต้องขออนุญาตก่อนทำการผลิต หรือนำเข้า และผู้ควบคุมการผลิต ควรปรับปรุงแก้ไขให้ผู้ควบคุมการผลิตต้องเข้ารับ
การอบรมในทุก ๆ 5 ปี ตามหลักสูตรที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
การควบคุมฉลาก กฎหมายไทยมีความสอดคล้องกับสหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย โดยควรกำหนดให้วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 จะต้องมีการติดฉลาก นอกจากนี้ ข้อความในฉลากควรจะต้องมีการระบุ “ปริมาณการใช้ในแต่ละครั้ง” รวมทั้งควรกำหนดขนาดของฉลาก (กว้างคูณยาว) ทั้งนี้ โดยพิจารณาตามขนาดที่บรจุ
การจำหน่าย กฎหมายไทยมีความสอดคล้องกับสหภาพยุโรปและประเทศออสเตรเลีย แต่ไม่สอดคล้องกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้ศึกษาเห็นควรว่า กฎหมายไทยควรปรับปรุงแก้ไข แยกขั้นตอนการขออนุญาตจำหน่ายออกจากขั้นตอนอื่น และในการออกประกาศนั้น ควรกำหนดให้การยื่นขออนุญาตจำหน่ายในระดับจังหวัด ควรยื่นคำขอต่อสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ผู้มีอำนาจลงนามในใบอนุญาต ควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจลงนาม และควรกำหนดให้ผู้ควบคุมการจำหน่าย จะต้องจบปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และจะต้องจัดให้ผู้ควบคุมการจำหน่ายต้องเข้ารับการอบรมในทุก 5 ปี ตามหลักสูตรที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
การใช้กฎหมายไทยมีความสอดคล้องกับสหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย โดยควรจะต้องปรับปรุงปริมาณสารพิษตกค้าง (MRL) ในผลผลิตทางการเกษตรทุก 1 ปี และในกรณีที่ประเทศคู่ค้ากับประเทศไทย ไม่มีการปลูกผัก หรือผลไม้บางชนิด ควรปรับปรุงค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRL) ของประเทศไทยให้มีค่าต่ำที่สุด และจะต้องเจรจากับประเทศคู่ค้า เพื่อพิจารณาปรับปรุงค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRL) ของประเทศคู่ค้าให้สอดคล้อง
กับประเทศไทย
การเพิกถอน ตามกฎหมายไทยมีความสอดคล้องกับสหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย โดยควรบัญญัติเพิ่มเติมการอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนไว้ด้วย และควรเพิ่มเติม ให้มีการผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันถึงความเป็นอันตรายแก่บุคคล สัตว์พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีวิธีปกติตามควรที่จะป้องกันได้ เพื่อประกอบการพิจารณา
References
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535. (2535, 6 เมษายน). ราชกิจนุเบกษา. เล่ม 109 ตอน 39.
Agricultural Chemicals Regulation Law, 1948.
Agricultural and Veterinary Chemicals Code Act 1994.
Alison Mcafee. (2017). A Brief History of Pesticides, American Bee Journal, 157(7),781-783.
Federal Insecticide, Fungicide and Rodenticide Act (FIFRA).
Graham A. Matthews. (2018). A History of Pesticides. Boston, MA: CABI, 7-8.
John Handley. (2019). Pesticides - A Brief History and Analysis, in Chemicals & Fertilisers and Technical, Pitchcare Magazine, 83(2).
Pest Control Products (Pesticides) Acts and Regulations.
Regulation (EC) No 1907/2006 OF The European Parliament and of the Council of 18 December 2006.
Regulation (EC) No 1272/2008 on the Classification, Labelling and Packaging of Substances and Mixtures (CLP).
Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council of 21 October 2009 Concerning the Placing of Plant
Protection Products on the Market and Repealing Council Directives 79/117/EEC and 91/414/EEC.
SPEX Certi Prep Group. (2016). “The Evolution of Chemical Pesticides,” Fisher Scientific 4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์