ความต้องการจำเป็นในการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • สุจินตา คำเงิน นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ลำไย สีหามาตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พิรุณ จันทวาส อาจารย์ประจำหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, ทักษะการพูด, การพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากร ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และผู้ปกครองนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 339 คน 2) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 34 คน  3) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 138 คน และ 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 339 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ใช้สูตรการสุ่มของ Taro Yamane (Yamane, 1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความต้องการจำเป็นที่มีลักษณะเป็นรูปแบบการตอบสนองคู่ (Dual–Response Format) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความสำคัญโดยใช้ (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า

              1) สภาพความเป็นจริงของการพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาพรวม พบว่า มีพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อยทุกด้านส่วนสภาพที่พึงประสงค์มีความต้องการให้เกิดพฤติกรรมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

             2) ผลการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้านของการพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ด้านความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนมีความสำคัญ ลำดับที่ 1 มีค่า PNImodified = 1.11 

             3) แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน มีดังนี้

                        3.1) จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้มีการใช้คำศัพท์หลากหลายบริบท ฝึกสนทนาประโยคที่ง่าย ๆ สั้น ๆ ก่อนประโยคที่มีโครงสร้างซับซ้อน

                        3.2) ฝึกทักษะการพูดโดยบูรณาการทุกทักษะภาษากระตุ้นให้กำลังใจ ชมเชยและให้คำแนะนำเชิงบวกแก่นักเรียน

                        3.3) ใช้สื่อ นวัตกรรม จัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ และประเมินผลอย่างหลากหลาย 

                        3.4) ฝึกฝนนักเรียนให้พูดได้อย่างคล่องแคล่ว และใช้คำศัพท์และข้อความประกอบการอธิบายให้ได้มากที่สุด 

References

กาญจนาพร รุจิโฉม. (2561). การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยกับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปะ การจัดการ, 2(3), 199-210.

ฐิติยา เรือนนะการ. (2559). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 40-53.

นรินทร์ บัวนาค, วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์, และลำไย สีหามาตย์. (2565). การศึกษาความต้องการจำเป็นของครูในการสอนวิชาคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ำโขง, 29(2), 29–38.

ประยงค์ กลั่นฤทธิ์. (2564). การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในบริบทเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 10(1), 1-18.

ปัณฑ์นพ ผจญทรพรรค, ณัฐวุฒิ โพธิ์ทักษิณ และนรินทร์ มุกมณี. (2564). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทย. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 6(3), 911-920.

พัชชา กรีรัมย์. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ Task-Based Learning ร่วมกับ 2W3P สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 6(1), 11-21.

ฤทธิไกร ไชยงาม,กันยารัตน์ ไวคำ และหทัย ไชยงาม. (2561). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนภาษาอังกฤษของชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 7-17.

สถาบันภาษาอังกฤษ. (2558). คู่มือการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากลระดับชั้นมัธยมศึกษา. http://ltu.obec.go.th/english/2013/index.php/th/2012-08-08-10-26-5/74-cefr

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Education First. (2019). The World’s Largest Ranking of Countries and Regions by English Skills. https://www.ef.com/wwen/epi/

_____. (2020). The World’s Largest Ranking of Countries and Regions by English Skills. https://www.ef.com/ wwen/epi/

_____. (2021). The World’s Largest Ranking of Countries and Regions by English Skills. https://www.ef.com/wwen/epi/

Erdogen, M. (2010). Sustainability in Higher Education: A needs Assessment on a Course “Education and Awareness for Sustainability”. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching, 11(1), 1-20.

Morrison, G. and others. (2010). Designing Effective instruction (6th ed.). John Wiley & Sons.

Seehamat L., Sarnrattana U., Tungkasamit A., Srisawasdi N., (2014). Needs Assessment for Curriculum Development about Water Resources Management: A Case study of Nam Phong Basin. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 116, 1763-1765.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Statistic, (2nd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13