บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ปริชัย ดาวอุดม อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศราวุฒิ งามยิ่ง อาจารย์ ประจำโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ฝ่ายประถม
  • จรัญยา กิติไพศาลนนท์ นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

บทบาท, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การส่งเสริม, พัฒนาคุณภาพชีวิต, กลุ่มชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ในการลดผลจากการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมภายในประเทศต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีผลงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์อย่างโดดเด่น

ผลวิจัย พบว่า บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นตามกฎหมายที่มีต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สอดคล้องตามตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของประชากร 8 ด้าน ได้แก่ อาหารและโภชนาการ สุขภาพ  การศึกษา สภาพแวดล้อม  รายได้  การมีงานทำ  สภานภาพสตรี และที่อยู่อาศัย โดยมีทั้งบทบาททางตรงและทางอ้อม ส่วนรูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ (1) แนวทางการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (2) แนวทางการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์  โดยใช้สถานะของความเป็นตัวแทนประชาชนในพื้นที่ (3) แนวทางการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยการอาศัยวัฒนธรรม ประเพณี หรือพลังภายในชุมชน (4) การแก้ไขข้อจำกัดทางกฎหมายโดยด่วนเพื่อทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกลไกที่เป็นทางการในการให้บริการกับกลุ่มผู้เสียเปรียบมาอย่างยาวนานได้อย่างเท่าเทียม

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). แนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ เล่มที่ 135 ตอนที่ 24 วันที่ 6 เมษายน 2561.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 3(2), 183-196.

พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2554, 1-4 กุมภาพันธ์). วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ.2550. [การนำเสนอ]. การประชุมทางวิชาการของ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 1-90.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2564). คุณภาพคือความอยู่รอด ตอน คุณภาพชีวิต…อยู่ที่ใคร?. https://www.matichon.co.th/columnists/news_2530804

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2563). 10 ปี มติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรมกะเหรี่ยงวันนี้ยังถูกจับข้อหาบุกรุกแผ้วถางป่า…!!. https://web.codi.or.th/20200804-17803/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13