ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดที่เกิดจากการทำงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) กับความคิดเห็นที่มีต่อผลการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ชื่นชม นักวิชาการเงินและบัญชี งานคลัง คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • นพนล ภณธงนันท์ นักวิชาการเงินและบัญชี กองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ความเครียดในการทำงาน, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา, ผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อผลการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ความเครียด ที่เกิดจากการทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดที่เกิดจากการทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) กับความคิดเห็นที่มีต่อผลการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประชากร ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 92 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 73 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejcie and Morgan และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า  (1) ความคิดเห็นต่อผลการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความเครียดที่เกิดจากการทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และ (3) ความเครียดที่เกิดจากการทำงานในช่วงการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นที่มีต่อผลการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดยภาพรวมและรายด้าน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ดอน รูปสม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ธีรนันท์ วัฒนาคานนท์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักทางการบัญชีกับผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนการคลังองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิไลวรรณ ศรีหาตา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการเรียนรู้กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

เสาวรัจ รัตนคำฟู และเมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอด, สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19/

อธิพงษ์ ภูมีแสง, วิยุทธ์ จำรัสพันธ์ และอาริยา ป้องศิริ. (2564). การประยุกต์ใช้นโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการทำงานจากที่บ้านของภาครัฐไทยในภาวะวิกฤติ COVID-19. วารสารการปกครอง, 10(2), 289-312.

อาทรณ์ กิจจา และอุษณา แจ้งคล้อย. (2017). ความเครียดในการทำงานของนักบัญชีในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1), 39-53.

Colligan, T.W.,&Higgins, E.M. (2006). Workplace stress: Etiology and consequences. Journal of Workplace Behavioral Health, 21(2), 89–97.

Ellerbee, T. S. (2021). The Impact of Job Stressors on Psychological Detachment and Experienced Recovery from the Workplace during Network Hours. Doctoral dissertation, Walden University.

Hidayat, T., Maarif, S., & Asmara, (2022) A. Employee Performance Management Scenarios in the Era of Work from Home. International Journal of Research and Review, 9(1), 452-460.

Irawanto, D. W., Novianti, K. R., & Roz, K. (2021). Work from home: Measuring satisfaction between work–life balance and work stress during the COVID-19 pandemic in Indonesia. Economies, 9(3), 96.

Kim, J., Henly, J. R., Golden, L. M., & Lambert, S. J. (2020). Workplace flexibility and worker well-being by gender. Journal of Marriage and Family, 82(3), 892-910.

Lerner, D., Adler, D. A., Rogers, W. H., Lapitsky, L., McLaughlin, T., & Reed, J. (2010). Work performance of employees with depression: the impact of work stressors. American Journal of Health Promotion, 24(3), 205-213.

Linh, N. T. P. (2021). The Influence of Work-from-home on job performance during COVID-19 pandemic: Empirical evidence Hanoi, Vietnam. Proceedings of the International Conference on Research in Management & Technovation, 8, 73–81.

Lu, L., Kao, S. F., Siu, O. L., & Lu, C. Q. (2010). Work stressors, Chinese coping strategies, and job performance in Greater China. International Journal of Psychology, 45(4), 294-302.

Manurung, S., Johar Samosir, S., & Wartonah, R. F. (2021). The Effect of Work from Home (WFH) Performance during Covid-19 Pandemic and Self Effication on the Work Effectiveness of Lecturers. Nveo-natural Volatiles & Essential Oils Journal/ NVEO, 8(4), 14717-14732.

Mwenda, F. K., Kiflemarian, A., & Kimani, S. W. (2019). An assessment of the relationship between job stressors and faculty performance in selected private universities in Kenya. International Journal of Education and Research, 7(7), 45-56.

Purwanto, A., Asbari, M., Fahlevi, M., Mufid, A., Agistiawati, E., Cahyono, Y., & Suryani, P. (2020). Impact of work from home (WFH) on Indonesian teachers performance during the Covid-19 pandemic: An exploratory study. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(5), 6235-6244.

Shareena, P., & Shahid, M. (2020).Work from home during COVID-19:Employees perception and experiences. Global Journal For Research Analysis, 9(5), 1-3.

Susilo, D. (2020). Revealing the effect of work-from-home on job performance during the COVID-19 crisis: Empirical evidence from Indonesia. Journal of Contemporary Issues in Business and Government, 26(1), 23-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29