แนวทางการอนุรักษ์วิถีการผลิตและการบริโภคข้าวปุ้นซาว ของสังคมอีสานในอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การอนุรักษ์, ข้าวปุ้นซาว, วิถีการผลิตบริโภคและการบริโภคบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนผ่านวิถีการผลิตและการบริโภคข้าวปุ้นซาวจากอดีตถึงปัจจุบัน 2) เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์วิถีการผลิตและการบริโภคข้าวปุ้นซาวในรูปแบบดั้งเดิม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสังเกตแบบมีส่วนร่วม หลักฐานเชิงประจักษ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นเจ้าของสถานประกอบการร้านข้าวปุ้นซาวและประชาชนผู้บริโภค โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จัดหมวดหมู่ ตีความ และนำเสนอผลการศึกษาด้วยการ วิคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย การศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนผ่านวิถีการผลิตและการบริโภคข้าวปุ้นซาวจากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่า ในอดีตข้าวปุ้นซาวเป็นอาหารที่ผูกโยงเข้ากับงานบุญประเพณีสำคัญต่าง ๆ โดยมีขั้นตอนการผลิตที่ยาก และใช้แรงงานคนจำนวนมาก การทำข้าวปุ้นซาวจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องที่ต้องพิถีพิถัน ซึ่งนิยมทำเฉพาะในงานบุญสำคัญโดยเฉพาะในโอกาสพิเศษ ที่ประชาชนในชุมชนมารวมกลุ่มกันจำนวนมากเพื่อทำกิจกรรมทางสังคม แต่ในปัจจุบันพบว่าการผลิตข้าวปุ้นซาวผู้ผลิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปและเครื่องจักรไฟฟ้าที่มีความทันสมัย
อย่างไรก็ตามข้าวปุ้นซาวในภาคอีสานก็ยังถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางจิตใจทั้งต่อตัวผู้ผลิตและผู้บริโภคข้าวปุ้นซาว ที่สะท้อนให้เห็นความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน อันนำไปสู่วิถีของชุมชนให้มีความเข็มแข็งอย่างยั่งยืน
ผลการวิจัย แนวทางการอนุรักษ์วิถีการผลิตและแนวทางการอนุรักษ์บริโภคข้าวปุ้นซาวในรูปแบบดั้งเดิม พบว่า 1) แนวทางการอนุรักษ์วิถีการผลิตข้าวปุ้นซาวมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ควรมีการอนุรักษ์เครื่องมือหรืออุปกรณ์การผลิตข้าวปุ้นซาว โดยนำอุปกรณ์แบบดั้งเดิมมาใช้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้นั้นมีความพิถีพิถันมากกว่าปัจจุบัน และยังมีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน ส่วนที่ 2 ควรมีการอนุรักษ์แป้งที่ทำจาก ข้าวเจ้าแดง เนื่องจากข้าวเจ้าแดงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีกลิ่นหอมมากกว่าแป้งสำเร็จรูปในปัจจุบัน 2) แนวทางการอนุรักษ์วิถีการผลิตข้าวปุ้นซาวควรมีการอนุรักษ์การบริโภคข้าวปุ้นซาว 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ควรมีการบริโภคซั่วข้าวปุ้นซาวโดยการอนุรักษ์การบริโภคคู่กับน้ำยาดั้งเดิม คือ นำเส้นข้าวปุ้นมาผสมกับน้ำปลาร้า พริกป่น ผงชูรส ข้าวคั่ว น้ำตาล น้ำปลา และผักลวก คลุกเคล้าให้เข้ากัน เพราะว่าการรับประทานแบบดั้งเดิมจะรับประทานแบบง่ายๆโดยมีเครื่องปรุงตามข้างต้นเพื่อที่จะอนุรักษ์เอาไว้ ส่วนที่ 2 ควรมีการบริโภคข้าวปุ้นซาวในงานบุญประเพณี โดยส่งเสริมให้มีการบริโภคข้าวปุ้นซาวตามประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่ อันเป็นบุญที่ชาวอีสานให้ความสำคัญ และยึดถือสืบต่อกันมา
References
กาญจนา ดงสงคราม และคณะ. (2562). นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 94-120.
กีรติพร จูตะวิริยะ,คำยิน สานยาวง และคำพอน อินทิพอน. (2555). วิถีการบริโภคอาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในยุคโลกาภิวัตน์ เขตนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2), 49-73.
เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน. (2562). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาและสร้างความตระหนักรู้ การทำขนมจีนประโดก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(55), 1-21.
ทิพย์สุดา รันนัน. (2561). บุญข้าวปุ้น งานบุญในประเพณีบุญมหาชาติ. สำนักงาน ประมงจังหวัดมหาสารคาม.
พิทยา พละพลีวัลย์. (2562). จากการบริโภคในฐานะกิจกรรมสู่วัฒนธรรมบริโภคในฐานะทฤษฎี, วารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการ ปัญญาภิวัฒน์, 12(3), 4-20.
เพ็ญศิริ จารุจินดา. (2553). การบริโภคและใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ. สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/classroomsocial/lesson/ unit2/02
วรฉัตร วริวรรณ และเบญจวรรณ บุญโทแสง. (2562). ข้าวปุ้นซาว: ความเปลี่ยนแปลง และการดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่, วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 3(1), 31-59.
สุพรรณี ไชยอำพร. (2560). ความมั่นคงทางอาหาร: สิ่งบ่งชี้ต่างวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 5(1), 200-222.
สุพรรณี พฤกษา และสุวรีย์ ศรีปูณะ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีในหมู่บ้านวัฒนธรรมนาอ้อ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(42), 57-67.
เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. (2562). “ขนมจีนเส้นสดสูตรคนใต้”. สืบค้นจาก https://today.line.me/th/v2/article/kEjOZL0
อริสา สุขสม. (2563). เมื่อวัยรุ่นบริโภคแฟชั่น การบริโภค “อัตลักษณ์” ภายใต้วัฒนธรรมการบริโภค. (รายงานผลการวิจัยสารสุทธิปริทัศน์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
อิทธิเทพ หลีนวรัตน์. (2558). การโฆษณา: วัฒนธรรมการบริโภคในสังคมไทย. วารสารวิจัยราชภัฏ กรุงเก่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2(2) 69-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์