บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการจัดการ ภัยพิบัติ กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา แสงกล้า คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชลธิชา พลมะศรี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วรฉัตร วริวรรณ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

บทบาท, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การจัดการภัยพิบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการจัดการภัยพิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการภัยพิบัติ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูล โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และนำบทสัมภาษณ์มาแยกเป็นหมวดหมู่และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 1) มีการวางแผนรองรับการบริหารจัดการภัยที่เรียกว่า “แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย” 2) มีการแต่งตั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการจัดการภัยพิบัติและมีเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่รับผิดชอบโดยตรง 3) มีการจัดบุคลากรโดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีความชำนาญเฉพาะด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4) มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย 5) มีผู้รับผิดชอบในการติดตามและประสานงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานช่วยเหลือประชาชน 6) มีการรายงานผลการปฏิบัติงานให้หน่วยบริหารกลางทราบ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน 7) มีการ ตั้งงบประมาณในการสนับสนุนเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการภัยพิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ การปฏิบัติงานบางครั้งไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่วางไว้ได้ทั้งหมด เช่น การจัดการฝึกซ้อมการปฏิบัติงานด้านการจัดการภัยพิบัติ การขาดความสม่ำเสมอในการเข้าร่วมการฝึกซ้อมกับหน่วยงานอื่น เป็นต้น ปัญหาด้านเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไม่เพียงพอ ปัญหาการขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ปัญหาการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปัญหาและอุปสรรคในด้านการสื่อสารจากภาษา/การถ่ายทอด/การสั่งการที่ไม่ชัดเจน หรืออาจเกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ปัญหาการรายงานผลที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอกหรือชุมชนเท่าที่ควร ปัญหาด้านงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติมีไม่เพียงพอ แนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ อำเภอ เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดในการบริหารจัดการภัยพิบัติ พบว่า มีการขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการจัดทำปฏิทินสาธารณภัยประจำปีเพื่อเป็นแนวทาง ในการเตรียมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไว้ล่วงหน้า มีการอบรม ซักซ้อมแผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรองรับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เพื่อประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน มีการจัดทำแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เข้าใจตรงกัน มีการประชุมก่อนลงมือปฏิบัติตามแผนงานทุกครั้ง และมีการวางระบบการติดตามผลการปฏิบัติงานระหว่างกัน เพื่อสร้างความรับรู้ร่วมกัน มีการปรับปรุงการรายงานผลการปฏิบัติงานโดยการจัดสื่อประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ ควบคู่ไปกับการรายงานผลการปฏิบัติงานในรูปแบบเอกสาร มีการขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากทางส่วนราชการ องค์กรเอกชน หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยการของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือตามสถานการณ์ของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น

References

ชนิษฎา ชูสุข, สายฝน แสงหิรัญทองประเสริฐ, และจิตราวดี ฐิตินันทกร. (2558). เครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการจัดการภัยพิบัติในคาบสมุทรทิงพระ จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สำนักวิจัยและพัฒนา.

ชูวงศ์ อุบาลี, นักรบ เถียรอ่ำ และวงธรรม สรณะ. (2555). การพัฒนาศักยภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี สําหรับการจัดการภัยพิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด.

พีรศุษม์ วัฒนพงศ์พิทักษ์. (2558). ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการภัยพิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก. (ม.ป.ป.). ภัยธรรมชาติในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.songkhla.tmd.go.th/attachment/images/Disas.Pdf ?Fbclid=IwAR0uLfZkHdnERGs3ye99sqpuFrDf7Jq3NC8w2obLw-K35 Lek3MJ2SgAIwW0

สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, พหล ศักดิ์คะทัศน์, สุรชัย กังวล และธรรมพร ตันตรา. (2562). รูปแบบการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15(2), 116-134.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). รัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

สายฝน แสงหิรัญทองประเสริฐ และชนิษฎา ชูสุข. (2558). การจัดการภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรชุมชน. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(4), 112-123.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นจาก http://roietlocal.go.th/public/history/ data/index/menu/24

องค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ. (2015). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นจากhttp://www.bungkluebk.go.th/pr/index.php?option=com_content&view=article&id =46&Itemid=5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29