อิทธิพลของความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ยุทธพงษ์ จักรคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวรรณนภา สุ่ยวงษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดวงดาว ประทิพย์ อาราราม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ความผูกพัน, องค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันของบุคลากร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร และ 3) ศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 407 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม–เดือนพฤศจิกายน 2563 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานโดยหา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Enter Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านที่มีอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านโอกาสนำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านภาวะผู้นำและวัฒนธรรมในองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการสื่อสารของบุคลากรในองค์กร และความผูกพันของบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านสัมพันธภาพ ด้านการสนับสนุนการบริหาร ด้านความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันของบุคลากร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = .619**) สามารถพยากรณ์ความผูกพันของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร้อยละ 68.10 (R2 = 0.681, p-value<0.01)

References

ฉัตรปารี อยู่เย็น. (2555). แรงจูงใจและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. RMUTT Global Business and Economics Review, 7(2), 201-215.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปาริชาติ หงส์เกียรติขจ. (2559). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ. วารสารวิจัย รำไพพรรณ, 10(4), 66-78.

พลกฤต รักจุล, ประภัสสร วรรณสถิต, กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ, ชัยวัฒน์ ใบไม้. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพัน และความตั้งใจ ที่จะคงอยู่ของพนักงาน: ทบทวนวรรณกรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา เชิงพุทธ, 5(2), 15-29.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ธัญวฤณ วัทโล, และวิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27-39.

พิชญา หอมหวน. (2561). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(5), 80-98.

พิพัฒน์ มีเถื่อน. (2562). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ฮันนี่ เวลล์ อิเล็คทรอนิค แมธิเรียลส์ (ประเทศไทย). (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

ภูรุจ จันทร์สว่าง. (2560). การบริหารจัดการที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

มณฑิชา เป้าบุญปรุง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 99-112.

มนชัย อรพิมพ์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการค้า ต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).

วรัชญ์ ครุจิต. (2561). การสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัลสำหรับองค์กรสื่อสาธารณะ: กรณีศึกษา องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สสท.). วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 5(1), 95-115.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2558). อิทธิพลภาวะผู้นำาที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กรและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 4(1), 1-26.

ศิรประภา ภาคีอรรถ. (2562). ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

สมโภชน์ อเนกสุข. (2552). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้บรรยากาศองค์กรผ่านความ พึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. วารสาร Veridian E-Journal, 10(2), 1611-1629.

สุพิชญา อุรเคนทร์เนตร. (2553). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักการคลังและสินทรัพย์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจการศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

โสมย์สิรี มูลทองทิพย์. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอท่ามะกา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา และคำรณ โชธนะโชติ. (2562). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 6(1), 300-333.

อรฉัตร วรรณวิจิตร. (2562). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง).

อุทุมพร รุ่งเรือง. (2555). ความพึงพอใจในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมแปรรูปโครงสร้างเหล็ก. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Becker, S., & Neuhauser, D. (1975). The Efficient Organization. New York: Elsevier Scientific.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Rusu, R. (2013). Organizational Commitment and Job Satisfaction. Scientific Bulletin-Nicolae Balcescu Land Forces Academy, 1(18), 52-55.

Shahid, A. (2018). Employee Intention to Stay: An Environment Based on Trust and Motivation. Journal of Management Research, 10(4), 15-32.

Springer, G. J. (2011). A study of job motivation, satisfaction, and performance among bank employees. Journal of Global Business Issues, 5(1), 29-42.

Wallach, E. (1983). Individuals and organization: the cultural match. Training and Development Journal, 12, 28-36.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29