ปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ฐิติรัตน์ ช่างทอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เกษตรชัย และหีม คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ปัจจัยจิตสังคม, การไม่เห็นคุณค่าในตนเอง, ความไม่ผาสุกทางจิตวิญญาณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยจิตสังคม และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอาร์เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ผลของการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.40 และมีคุณลักษณะของปัจจัยจิตสังคมด้านความไม่พึงพอใจในชีวิต การไม่เห็นคุณค่าในตนเอง และความ ไม่ผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.38, 2.10 และ 2.08 และมีทัศนคติเชิงลบต่อความตายอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 1.71 โดยการ ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง และความไม่ผาสุกทางจิตวิญญาณส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. กรมกิจการผู้สูงอายุ: โรงพิมพ์สามลดา.

กรมสุขภาพจิต. (2561). สถิติผู้สูงอายุฆ่าตัวตายสูงอันดับ 2 อาชีพตำรวจก็ด้วย. สืบค้นจาก https://bit.ly/34AAeLG

ตฏิลา จำปาวัลย์. (2560). แนวคิดและทฤษฎีภาวะซึมเศร้าทางจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 2(2), 1-11.

ไทยพีบีเอส. (2560). สธ.เตือนภัยเงียบ “โรคซึมเศร้า” แนะครอบครัวสังเกต 9 อาการ. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/ 268828

ธนัญพร พรมจันทร์ และศิริลักษณ์ ศุภปิติพร. (2557). ภาวะซึมเศร้า และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 58(5), 545-561.

ธนัญพร พรมจันทร์. (2556). ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต คณะแพทย์สาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ์. (2559). ภาวะซึมเศร้า. วารสาร มฉก.วิชาการ, 1(38), 105-118.

บ้านจอมยุทธ. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีบุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม. สืบค้นจาก https://www.baanjomyut.com/library/personality/ 08.html

พวงชมพู โจนส์. (2561). สังคมผู้สูงอายุ: โอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), 1-6.

มาธุรี อุไรรัตน์ และมาลี สบายยิ่ง. (2560). การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษามูลนิธิสงเคราะห์คนชราอนาถาแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. วารสารรูสมิแล, 38(1). 29-44.

มาโนช หล่อตระกูล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. (ม.ป.ป). แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9. สืบค้นจาก https://med. mahidol.ac.th/th/depression_risk

โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4. (2561). โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ…อันตรายที่ใกล้แค่เอื้อม. สืบค้นจาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/ Article/Details/อายุรกรรม/โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ…-อันตรายที่ใกล้ แค่เอื้อม

เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ และธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ. (2560). การปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 253-265.

วงศ์สิริ แจ่มฟ้า, ศิริรัตน์ จำปีเรือง และพิมพวรรณ เรืองพุทธ. (2562). ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 259-271.

วิลาวรรณ คริสต์รักษา และทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. (2561). บทบาทพยาบาลจิตเวชชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยทางจิตวิญญาณ: มิติวิญญาณ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(2), 6-14.

ศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต. (2561). รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุประจำปี 2561. สืบค้นจาก https://www.thaidepression. com/www/report/main _report/pdf/60up/dep_60up_61.pdf

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). (2559). คู่มือการดูแลผู้สูงวัย สูตรคลายซึมเศร้า. สืบค้นจาก https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/ default/files/documents/khuumuuekaarduuaelphuusuungaayusuutrkhlaaychuemesraa.pdf?download

อภิรดี โชนิรัตน์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, คะนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล และศริยามน ติรพัฒน์. (2563). ปัจจัยทำนายการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1). 93-108.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, สุวิมล จอดพิมาย, และพรรณภา แสงส่อง. (2561). การศึกษาประสบการณ์ภาวะซึมเศร้าและความเศร้าโศกจากการสูญเสียของ ผู้สูงอายุไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(3), 33-47.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin,J.B., & Anderson, R. E. (2014). Mutivariate Data Analysis. London: Peassun publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29