ความรับผิดของท้องถิ่นอังกฤษต่อเหตุรำคาญจากน้ำท่วม

ผู้แต่ง

  • ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

เหตุรำคาญจากน้ำท่วม, ท้องถิ่น, ความรับผิด, กฎหมายอังกฤษ

บทคัดย่อ

ท้องถิ่นของประเทศอังกฤษมักมีภาระหน้าที่ในการลดความเสี่ยงต่อประชาชนและทรัพย์สินจากสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งตามมาตรา 79 (1) (h) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 1900 ได้วางหลักเกณฑ์กำหนดเหตุรำคาญอันเนื่องมาจากทางน้ำเอาไว้ ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับใช้ทั้งประเทศอังกฤษ ประเทศเวลส์และประเทศสกอตแลนด์ ในขณะที่ท้องถิ่นของประเทศอังกฤษถูกกำหนดให้มีภาระหน้าที่ในการบำรุงรักษาซ่อมแซมเส้นทางสัญจรเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและทรัพย์สินหากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมขึ้น แต่ท้องถิ่นของอังกฤษกลับไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการที่จะปกป้องทรัพย์สินของเอกชนจากสถานการณ์น้ำท่วม ท้องถิ่นของอังกฤษจึงมีหน้าที่เพียงแค่ทำให้ทางน้ำให้สามารถไหลได้สะดวกมิให้มีสิ่งกีดขวางอันเป็นอุปสรรคต่อทางเดินน้ำ ท้องถิ่นของอังกฤษก็ยังมีหน้าที่ระบายน้ำจากถนนในชุมชน ถนนเชื่อมระหว่างชุมชน ทางหลวงและทางสาธารณะที่ทางราชการหรือท้องถิ่นได้สงวนเอาไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้เส้นทางสัญจรเหล่านี้ปราศจากสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแต่ชุมชนหรือประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่โดยรอบ (เช่น น้ำท่วมขัง) ด้วยเหตุนี้ท้องถิ่นจึงมีหน้าที่ในการบำรุงรักษาซ่อมแซมถนนหนทางท้องถิ่นให้ปราศจากน้ำที่ปล่อยให้เข้าท่วมขังและลดความเสี่ยงที่จะเกิดสถานการณ์น้ำท่วมในท้องถิ่น การซ่อมบำรุงทางระบายน้ำก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ลดเหตุรำคาญจากน้ำท่วมและป้องกันความเสียหายเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของประชาชนในท้องถิ่น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์อังกฤษในคดี Vernon Knight Associates v Cornwall Council [2013] EWCA Civ 950 เห็นว่าการประมาทเลินเล่อปล่อยปละละเลยไม่ยอมซ่อมบำรุงทางระบายน้ำของท้องถิ่นอย่างเหมาะสมเท่ากับว่าท้องถิ่นได้ก่อความเสียหายให้เกิดกับธุรกิจหมู่บ้านพักตากอากาศในท้องถิ่นเมืองคอร์นวอลล์ บทความฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์เหตุรำคาญจากน้ำท่วมภายใต้หลักความรับผิดในเหตุรำคาญซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยไม่เพียงตั้งคำถามจากการวิเคราะห์คดีธุรกิจหมู่บ้านพักตากอากาศในท้องถิ่นเมืองคอร์นวอลล์เท่านั้น แต่ยังวิเคราห์ความรับผิดชอบของท้องถิ่นที่ตอบสนองต่อเหตุรำคาญจากน้ำท่วมควบคู่กันไป

References

Blackburn, S. & Taylor, V. (2020). Don’t open the floodgates to a nuisance claim. London: 10 New Square.

Bright, S. (2001). Liability for the Bad Behaviour of Others. Oxford Journal of Legal Studies, 21(2), 311-330.

Browne Jacobson LLP. (2016). Flood liability and public authorities. Retrieved from https://www.brownejacobson.com/training-and-resources/resources/legal-updates/2016/02/flood-liability-and-public-authorities

Environment Agency. (2009). Flooding in England: A National Assessment of Flood Risk. Bristol: Environment Agency.

Evans, H., & Dixon, C. (2017). Problem areas in damages: economic loss, remoteness and betterment. London: 4 New Square.

Ham, N. (2016). “Apres loi, le deluge”–Liability for Flood Damage. Retrieved from https://www.clarkewillmott .com/news/liability-for-flood-damage/

Ince Group plc. (2013). What a nuisance: a council’s liability for flood damage.Retrieved from https://www.incegd.com/en/news-insights/what-nuisance-councils-liability-flood-damage-0

Maloney, E. F. & Plager, J. S. (1968). Diffused Surface Water: Scourage or Bounty. n Natural Resources Journal, 8(1), 72-113.

Noel, W. D. (1943). Nuisances from Land in Its Natural Condition. Harvard Law Review, 56(5), 772-798.

Royal Borough of Windsor & Maidenhead. (2014). Local Flood Risk Management Strategy. Maidenhead: Royal Borough of Windsor & Maidenhead.

Royal Horticultural Society. (2021). Hedges: nuisance and overgrown. Retrieved from https://www.rhs.org.uk /advice/profile?pid=408

Stevens-Hoare, B. & Bennett, F. M. (2015). Liability for nuisance: Recent developments in the measured duty of care between occupiers. Retrieved from Stevens-Hoare, B. & Bennett, F. M. (2015). Liability for nuisance: Recent developments in the measured duty of care between occupiers. Retrieved February 25, 2021,

Thornton, J. (2014). Significant UK Environmental Cases. Journal of Environmental Law, 26(2), 341-354.

UK Environmental Law Association. (2017). Your Rights and Duties (England & Wales only). Retrieved from http://www.Environment law.org. uk/rte.asp?id=103

Upton, W. (2014). Common law liabilities for flood damage: “Flood me, Flood me not”. Retrieved from https://www.6pumpcourt.co.uk/ wp-content/uploads/2014/11/common-law-liabilities-or-flooding-WU.pdf

Wedderburn, W. K. (1958). Nuisance. Natural Causes. Tree Roots. The Cambridge Law Journal, 16(1), 32-34.

Williams, A. (2014). Flooding Claims. Retrieved from http://www. atlanticchambers.co.uk/media/98714/nov_2014_-_flooding_-_andrew_williams.pdf

Wynn, P. (2004). Potential common law liability for privately provided flood defences. Structural Survey, 22(2), 110-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28