สำรวจความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปริวัฒน์ จันทร์ทรง ส่วนงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มณฑิรา เตียประเสริฐ แก้วตา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นิตต์อลิน ภูริชอุดมอังกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ศึกษาต่อ, นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากนักศึกษาสาขานิติศาสตร์ ที่ศึกษาในชั้นปีสุดท้ายและมีแนวโน้มที่จะสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 129 คน เพื่อนำไปวางแผนเปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตในอนาคต โดยการสำรวจข้อมูลด้านเพศ อายุ ชั้นปี สาขาที่สนใจ การสนับสนุน รูปแบบการวางแผนศึกษาต่อ ช่วงเวลาที่สะดวกในการศึกษาต่อ ภาษาที่ถนัด แผนการศึกษา แหล่งทุน ปัจจัยที่ทำให้สนใจศึกษาต่อ รวมถึงช่องทางการติดตามข่าวสาร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจประเภทตัวเลือก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ และฐานนิยม ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวให้ศึกษาต่อ โดยสนใจสาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งใกล้เคียงกับความสนใจสาขากฎหมายมหาชน รองลงมาให้ความสนใจสาขากฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่สะดวกในช่วงวันหยุดราชการ ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องค่าลงทะเบียน ด้านแผนการเรียนจำนวน 113 คน เลือกแผน ก วิทยานิพนธ์ เพื่อเหตุผลการประกอบอาชีพทางราชการและสถาบันการศึกษา ในบทความฉบับนี้จึงเสนอแนะให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วางแผนเปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ตามความต้องการต่อไป

References

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นจาก https://reg.ubu.ac.th/ registrar/home.asp

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). “หวิดปะทะ ‘We Walk’ เผชิญหน้าตร.ควบคุมฝูงชน สกัดวุ่น!ขัดคำสั่ง คสช.” ไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นจาก https://www. thairath. co.th/news/ crime/ 1182413

ไทยรัฐออนไลน์. (2562).“รณรงค์แก้รัฐธรรมนูญ”.ไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1682258

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2663).“ม็อบราษฎร ยกระดับเดินขบวนไปสถานทูตเยอรมัน 26 ต.ค. นี้”. ประชาชาติธุรกิจ, สืบค้นจาก https://www. prachachat. net/politics/news-543605

ปริวัฒน์ จันทร์ทรง. (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพ้นสภาพของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย.

ปริวัฒน์ จันทร์ทรง. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเรียนสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 39-54.

โพสทูเดย์. (2563). “ม็อบราษฎร” นัดรวมตัว 8 พ.ย. เพื่อเดินขบวนไปยื่นฎีกาต่อ ในหลวง”. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politic/news/ 637304

สมชาย รัตนชื่อสกุล. (2563). “มธบ. เผยอาชีพนักกม.ติดโผอาชีพไม่ตกงาน เตรียมปั้นนักกม.รองรับธุรกิจดิจิทัล”. ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นจากhttps://mgronline.com/smes/detail/9630000043302

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). “เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559”. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/ sites/2014/DocLib13

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการของแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ช่วงปี 2560-2564. ม.ป.ท.

สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. (2559). ประกาศรายชื่อมหาวิทยาลัยของกลุ่มภาครัฐ-กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน-กลุ่มสถาบันราชภัฏ-กลุ่มวิทยาลัยและกลุ่มมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่สามารถสมัครเข้า เป็นนักศึกษาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. (แผนกทะเบียนนักศึกษา สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28