การจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาล ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศักดา ปัตตุลี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
  • ณัฐพงษ์ วรวงค์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วรฉัตร วริวรรณ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โรงเรียนผู้สูงอายุ, การจัดการ, เทศบาลตำบลท่าม่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้บริหารเทศบาล ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโรงเรียนผู้สูงอายุ และนักเรียนผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ จากนั้นนำบทสัมภาษณ์มาจำแนกเป็นหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า การจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าม่วง มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบมีการจัดทำหลักสูตรการศึกษา โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ มีการจัดโครงสร้างองค์กรทางการบริหารและการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีการจัดบุคลากรการดำเนินงานจากบุคลากรของเทศบาลและบุคคลากรที่มีจิตอาสาของชุมชนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการอำนวยการให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่พร้อมต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการประสานงานที่ดี ทำให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ มีการรายงานผลการปฏิบัติงานทางวาจาและแบบลายลักษณ์อักษร ควบคู่ไปกับการสรุปผลการดำเนินงานทางสื่อสังคมออนไลน์ การงบประมาณมีการจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้งบประมาณของเทศบาลตำบลท่าม่วงเป็นหลัก และมีรายได้บางส่วนมาจากเงินสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และการจำหน่ายสินค้าจากการฝึกอาชีพของกลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/topic/view=54

ณัฐพงษ์ คันธรส และอัมฤตา สารธิวงค์. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุนำร่องในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พระครูวิรัติธรรมโชติ และคณะ. (2562). การจัดการระบบสุขภาพและสวัสดิการผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1339-1362.

พวงนรินทร์ คำปุก. (2558). ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15.

พิมลจรรย์ นามวัฒน์. (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับยิ่ง จำกัด มหาชน.

วรมน เหลืองสังวาล สวรรยา ธรรมอภิพล. (2562). แนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สวรรยา ธรรมอภิพล และคณะ. (2561). ปัจจัยความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุบ้านไร่แค จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(2), 352-365.

สิริวัลลิ์ พฤกษาอุดมชัย. (2560). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลดอนแฝก จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

บุคลานุกรม

คณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าม่วง. (2563). บทสัมภาษณ์. วันที่ 11 มิถุนายน 2563.

เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน. (2563). บทสัมภาษณ์, วันที่ 11 มิถุนายน 2563.

เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. (2563). บทสัมภาษณ์, วันที่ 11 มิถุนายน 2563.

ผู้บริหารเทศบาลตำบลท่าม่วง. (2563). บทสัมภาษณ์, วันที่ 11 มิถุนายน 2563.

ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าม่วง. (2563). บทสัมภาษณ์. วันที่ 11 มิถุนายน 2563.

รองผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าม่วง. (2563). บทสัมภาษณ์. วันที่ 12 มิถุนายน 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28