ปลาดุกควน: การเลี้ยงปลาดุกเพื่อสร้างอาชีพเสริมของ เกษตรกรรายย่อย บ้านบนควน หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา ขนุนอ่อน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อุดมศักดิ์ เดโชชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เดโช แขน้ำแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เชษฐา มุหะหมัด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การเลี้ยงปลาดุก, อาชีพเสริมของเกษตรกรรายย่อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาดุกเพื่อสร้างอาชีพเสริมของเกษตรกรรายย่อย เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการเลี้ยงปลาดุก เพื่อสร้างอาชีพเสริมของเกษตรรายย่อย และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการเลี้ยงปลาดุก เพื่อสร้างอาชีพเสริมของเกษตรรายย่อย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มเกษตรกรรายย่อย/ ผู้เลี้ยงปลาดุก และกลุ่มผู้ที่ส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงปลาดุก รวมทั้งสิ้น จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลของการวิจัย พบว่า วิธีการเลี้ยงปลาดุกเพื่อสร้างอาชีพเสริมของเกษตรกร รายย่อย พบว่า การเตรียมพื้นที่การเตรียมบ่อ การเลือกสายพันธุ์ปลาดุก การให้อาหารปลาดุก การถ่ายน้ำบ่อปลาดุก และการจับปลาดุก สภาพปัญหาในการเลี้ยงปลาดุกเพื่อสร้างอาชีพเสริมของเกษตรรายย่อย พบว่า ปัญหาน้ำ ปัญหาโรคในปลาดุก ปัญหาสถานที่เลี้ยงปลาดุก และแนวทางการแก้ปัญหาการเลี้ยงปลาดุกเพื่อสร้างอาชีพเสริมของเกษตรรายย่อย พบว่า แก้ความเป็นกรดของบ่อปูนซีเมนต์ โดยการเติมเกลือลงไปในบ่อ ให้อาหารอย่างเหมาะสม เปลี่ยนน้ำ และทำความสะอาดบ่ออย่างสม่ำเสมอนำวัตถุ หรือทางมะพร้าวมาคลุมปากบ่อ เพื่อป้องกันสิ่งต่างๆ ร่วงลงไป และให้ปลาได้หลบแสงแดด สรุปได้ว่า ผลการศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ต่อผู้สนใจนำไปใช้แก้ไขปัญหา และแนะนำแนวทางสำคัญในการส่งเสริมให้กับผู้ที่เลี้ยงปลาดุกใช้เป็นประโยชน์ได้

References

กลุ่มเกษตรสัญจร. (2557). ปลาที่เลี้ยงง่าย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหมิตร.

กลุ่มบัณฑิตเกษตรก้าวหน้า. (2553). เทคนิค และวิธีการเพาะเลี้ยงปลาดุก. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์

คมสัน มณีโชติ. (2555). รักบ้านเกิด: การให้อาหารปลาดุกในระยะแรกของการเลี้ยงปลา. สืบค้นจาก https://rakbankerd.com/agriculture/print.php?id= 916&s=tblanimal

ไชยา อุ้ยสูงเนิน. (2553). การเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีตกลม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พลู สงห์อ่อน. (2553). รักบ้านเกิด: วิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน. สืบค้นจากhttp://wanchairaks.blogspot.com/2011/11/blog-post_24.html

พิทยา สมุทรเวช. (2550). คู่มือการเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ส่งเสริมอาชีพธุรกิจเพชรกะรัต.

พิโรจน์ เพชรสังกิต. (2553). วิธีการเพาะหนอนแมลงวันเพื่อใช้เลี้ยงปลา. สืบค้นจาก https://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=0641&s=tblareablog

มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์ และไพพรรณ พรประภา. (2544). การจัดการคุณภาพน้ำ และการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาและสัตว์อื่นๆ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

วริยา สรรคชา. (2550). คู่มือเพาะเลี้ยงปลาดุกแบบมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเพชรกะรัตสติวดิโอ.

วิเศษ อัตรวิยากุล. (2536). ปลาดุกบิ๊กอุย. กรุงเทพมหานคร: โครงการหนังสือชุมชนบางเขน.

วีระ วัชรกรโยธิน. (2550). การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายเผยแพร่ ส่วนเผยแพร่การประมง สำนักพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโนยีการประมง.

วีระทัศ โททอง (2558). การเลี้ยงปลาน้ำจืด.สืบค้นจาก http://weerathebthothon-ng.blogspot.com/2015/06/blog-post_19.html

สุนิศา อุ่มประโคน. (2551). คู่มือสารพันวิธีการเลี้ยงปลาดุก. เพชรบุรี: นาคา อินเตอร์มีเดีย บจก.

อนันต์ แสวงมี. (2559). การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์กลมแบบง่ายๆ. สืบค้นจาก https://human.srru.ac.th/2016/08/15/

อุทัยรัตน์ ณ นคร. (2544). ปลาดุก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28