ศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา แน่นอุดร คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การบริการ, การแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด” มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบล วังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสามัคคี อำเภอ โพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6.กลุ่ม 1) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2) ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 3) หัวหน้าหน่วยกู้ชีพ 4) อาสาสมัครกู้ชีพ 5) ผู้ใหญ่บ้าน และ 6) ประชาชน ผลการศึกษาประเด็นศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า มีการ สั่งการและประสานงานที่ชัดเจนซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การประเมินสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกและภายใน ส่วนหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน ต้องมีความพร้อมที่จะออกปฏิบัติการตามคำสั่งและต้องมีมาตรฐานกำหนดระยะเวลาในการออกปฏิบัติการตามระยะเวลา การเดินทางโดยศูนย์รับแจ้งเหตุต้องคัดแยกระดับความรุนแรงความจำเป็น เพื่อสั่งการให้หน่วยปฏิบัติการที่เหมาะสมออกปฏิบัติการ และผลการศึกษาประเด็นปัญหาและอุปสรรคการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบล วังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การมีบุคลากรจำนวนน้อยและไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่างๆ บุคลากรที่ไม่ใส่ใจในการทำงานอาจจะส่งผลในการปฏิบัติงานในหน่วยงานและ มีปัญหาที่เกิดในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ ทำให้นำไปสู่การขัดแย้งและเกิดความไม่สามัคคีกันเพราะต่างคนต่างมีความคิดเป็นของตนเอง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2524). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. สืบค้นจาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ plan9.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9. สืบค้นจาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ plan9.pdf

กัญญา วังศรี. (2544). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลขอนแก่น: ศรีนครินทร์เวชสาร. (28)4, 69-73.

กัญญา วังศรี. (2556). การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. สืบค้นจาก 202.28.95.4 › library › main › eproceeding › Lec_69_73

กิตติพัฒน์ อินทรนิโลด. (2544). การศึกษาการบริการ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กุลธน ธนาพงศ์ธร. (2552). การบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

จารุพงศ์ พลเดช. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของวิทยากรกระบวนการในงานสาธารณสุข การวิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์และความไว. สืบค้นจาก li01.tci-thaijo.org › PRRJ_Scitech › article › download

จิราภรณ์ สีขาว. (2541). ภาพลักษณ์สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาตามการรับรู้ของผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง. กรุงเทพฯ:สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ, พัชรินทร์ ชมเดช และสมชาย กาญจนสูตร. (2551). การพัฒนาระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2550. วารสารวิชาการสาธารณสุข, (17)7, 2089-2101.

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปริมปภาภรณ์ บุตรศรี. (2557). พฤติกรรมการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นจากhttps://publichealth.msu.ac.th/isdatabase/wpcontent/uploads/ participants - database/pdf_200.pdf

ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์ และศิวพล ศรีแก้ว. (2557). การพัฒนาความรู้และทักษะ การบริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครกู้ชีพองค์การบริหารส่วนตำบลวังแสงอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข, (24)3, 132-142.

พงศ์คา พงศ์นภารักษ์. (2547). การบูรณาการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.

พิมพิมล พลเวียง. (2543). ศักยภาพและผลในการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารงานของสถานสงเคราะห์เด็กในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไพรพนา ศรีเสน. (2544). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการในงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราชคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิลาวรรณ แก้วลาน. (2551). คุณภาพการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

วิวัฒน์ชัย บุณยภักดิ์. (2532). ศักยภาพสำคัญอย่างไร. กรุงเทพฯ: จุลสารการท่องเที่ยว.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2542). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2544). การเรียนรู้อย่างมีความสุข: สารเคมีในสมองกับความสุขและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ตซินดิเคท.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2556). ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. สืบค้นจาก https://www.hfocus. org/content/2018/02/15373.

สุรจิต สุนทรธรรม. (2551). คำอธิบายประกอบพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

อมรา ผูกบุญชิด. (2539). คุณภาพในงานบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพลส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29