สมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน บ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : สมรรถนะ, การปฏิบัติงาน, ผู้ใหญ่บ้าน, บ้านบะตากาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้านบ้านบะตากาตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน บ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านบ้านบะตากาตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากร คือ ประชาชนในบ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 624 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในบ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งหมด จำนวน 242 คน ที่ได้จากการคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน บ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย และอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมด้านการอำนวยความยุติธรรม และด้านการบริการ ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน บ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาตามลำดับ คือ ด้านทัศนคติ รองลงมาคือ ด้านความรู้ ด้านความสามารถ และด้านทักษะ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านบ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ 1) ผู้ใหญ่บ้านควรมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติติงานให้มีประสิทธิภาพ 2) ผู้ใหญ่บ้านควรมีการจัดการป้องกันโรคติดต่อหรือโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านและ 3) ผู้ใหญ่บ้านควรมีทัศนคติเชิงบวกกับบุคคลทุกระดับ
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2537). คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น
กรมการปกครอง.
จิราพร บาริศรี. (2557). ปัจจัยที่อธิบายสมรรถนะของผู้ใหญ่บ้าน ในมุมมองของประชาชน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม).
ฉลวย พ่วงพลับ. (2548). บทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้าน : กรณีศึกษาอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา.(การศึกษาค้นคว้าอิสระ
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ชาญ คำวรรณ. (2546). เรื่องบทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนภายหลังปี พ.ศ. 2537. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: เอชอาร์เซ็นเตอร์.
ดำรง สุนทรศารทูล. (2534). แนวความคิดในการปฏิบัติงานของข้าราชการฝ่ายปกครองยุคปัจจุบัน. ในบทความทางวิชาการ เล่ม 16. กรุงเทพฯ.
ถิรวัฒน์ ธนานันท์. (2544). การใช้บริการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตสุขาภิบาลนิเวศกับสุขาภิบาลธงธานีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
นิจ ไพรสณฑ์. (2542). การเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
พรนภัทร วิระทูล และ พัฒน์ศิณ สำเริงแสงจันทร์รัมย์. (2558). การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยราชสีมา: วิทยาลัยราชสีมา.
พิมพ์รามิล สุพรรณพงศ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจของพนักงานโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศตวรรษ กล่ำดิษฐ์. (2560). สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า: กรณีศึกษาบริษัทสายไฟฟ้าไทย - ยาซากิ จำกัด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ).
สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสำนักบริหารการปกครองท้องที่กรมการปกครอง. (2541).
บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เหมาะสมในอนาคต. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
สันติ สวัสดิพงษ์. (2541). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชน: กรณีศึกษาในท้องที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย. (2547). โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มปท.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง สมรรถนะของข้าราชการ. (ม.ป.พ.)
สุชาติ พึ่งสาย. (2550). ผลการศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านของตำบลบ้านคลองสวน อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการและการประเมินโครงการ โครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี).
สุพานี สฤษฎ์วานิช . (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
McClelland, D.C.(1973).Testing for Competence Rather Than for lntelligence. AmericanPsychologist, 28, 1-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์