การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ตําบลนาแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อัษฎาวุฒิ แก้วรับศรี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การจัดการภัยพิบัติ, ภัยธรรมชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ตำบลนาแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดในเขตพื้นที่ตำบลนาแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ2. แนวทางการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติในเขตพื้นที่ตำบลนาแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3) ผู้นำชุมชน 4) ประชาชน และ 5) ปราชญ์ชาวบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ผ่านระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาประเด็นผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ พบว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นใน ตำบลนาแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะเป็นน้ำท่วมหรืออุทุกภัย เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาจากฝนตกหนักเป็นเวลาหลายวัน ทำให้แม่น้ำยังซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ตำบลนาแซงเอ่อล้นจากลำน้ำยังไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรมของประชาชน จึงส่งผลกระทบต่อร่ายกาย จิตใจ ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง นอกจากนี้ เชื้อโรคที่มาหลังจากการเกิดภัยพิบัติก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนที่ประสบภัยด้วย และผลการศึกษาประเด็นแนวทางการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ พบว่า การรับมื้อในน้ำท่วมครั้งนี้ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาแซง มีความรู้พื้นฐานในการรับมือกับภัยพิบัติทุกคน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติติดต่อกันมาแล้วเป็นเวลาสามปี ประชาชนจึงมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือภัยพิบัติหรือป้องกันภัยพิบัติ ประชาชนทุกคนสามารถรับมือได้เป็นอย่างดี การบรรเทาทุกข์ในภาวะฉุกเฉิน ก็ได้มีภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีบทบาทให้ความช่วยเหลือ ส่วนประเด็นการฟื้นฟูสภาพของชุมชนและการซ่อมสร้างหลังการเกิดอุทกภัยประชาชนส่วนมากจะฟื้นฟูสภาพภายในบ้าน และมีเทศบาลตำบลนาแซง เข้ามาช่วยเหลือในการฟื้นฟูสภาพชุมชนในส่วนต่างๆ

References

กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2558). การจัดการสาธารณภัยของประเทศไทย:แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558. สืบค้นจาก https://www.disaster.go.th/th/qvote-questionnaire-28/

กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564. สืบค้นจาก https://www. disaster.go.th/th/qvote-questionnaire-28/

กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2550). ผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติ. สืบค้นจาก https://www.disaster.go.th/th/qvote-questionnaire-28/

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/index.jsp

ไทยตำบลดอทคอม. (2558). ข้อมูลตำบลนาแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นจาก https://www.thaitambon.com/tambon

ปฐมาภรณ์ บุษปธำรง. (2555). การจัดการภัยพิบัติ: ปรัชญาสวัสดิการและประยุกต์ วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง.

มูลนิธิชุมชนไท. (2560). การจัดการภัยพิบัติโดยเครือข่ายชุมชนเป็นแกนหลัก. สืบค้นจาก https://www.chumchonthai.or.th/data-disaster

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2562). การเรียนรู้และอยู่รอดของชุมชนจากภัยพิบัติ. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/23277

Department of National Disaster Prevention and Mitigation. (2013). Reducing risk from disaster. Bangkok: The Agricultural Cooperative Publishing House of Thailand.

International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies. (2013). World Disasters Report 2013: Focus on technology and the future of humanitarian action. Geneva, Switzerland: international Federation of Red Cross and Red Crescent Societies

Thai Health Project. (2013). Thai Health 2013. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

World Health Organization. (2008). Humanitarian Health Action. Retrieved from http://www.who.-int/hac/about/definitions/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28