ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • พยอม พึ่งเถื่อน กองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเอง, ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง, ระบบสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยภาครัฐ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยภาครัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยภาครัฐ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยภาครัฐ และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยภาครัฐระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 98 คน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 98 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (T-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านเจตคติ รองลงมา ด้านทักษะ และด้านความรู้ 2) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าทั้งด้านอำนาจ และด้านโอกาสมีคะแนนเฉลี่ยเท่าๆ กัน และ 3) ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองโดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กมลเนตร สุภาพ. (2560). ความต้องการพัฒนาความรู้ทางด้านบัญชีและวิธีการให้บริการความรู้สำหรับผู้ทำบัญชีในธุรกิจภาคเหนือตอนล่าง 1. วารสารวิทยาการจัดการ, 34(2), 29-54.

กิตติศักดิ์ จินดากุล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงาน กรณีศึกษา : บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน). (งานวิจัยส่วนบุคคล ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

จันทิรา สรวลสำเริง. (2554). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

จิราภรณ์ พรหมทอง. (2559). การพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพื่อ เข้าสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 63-72.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติรกรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญธรรม พรเจริญ. (2557). อิทธิพลของแรงจูงใจและการพัฒนาตนเองที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบัญชีในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (งานวิจัยคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร).

บุตรศรี วิไลจักร, ประสงค์ ตันพิชัย และสันติ ศรีสวนแตง. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเองของบุคลากร สังกัดกระทรวงภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 1288-1302.

ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2561). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (ฉบับพิเศษ), 590-599.

รัชนู เรืองโอชา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การ การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงโครงสร้าง และความพึงพอใจในงานของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วาริชา บรรจงชีพ. (2556). ความสัมพันธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงโครงสร้างและความพึงพอใจในงานตามความแตกต่างของลักษณะบุคลิกแบบนพลักษณ์ของบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

สุชาดา เหมพรหมราช. (2553). ความสัมพันธ์ของการพัฒนาตนเอง วัฒนธรรมองค์การกับ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพญาไท 2. วารสารรามคำแหง, 27(3), 554-565.

อภิชิต เหมือยไธสง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาตนเองของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. วารสาร มรม. 12(1), 151-160.

Altınkurt, Y., Anasız, B. T., & Ekinci, C. E. (2016). The Relationships between Structural and Psychological Empowerment of Teachers and Their Organizational Citizenship Behaviors.Egitim ve Bilim, 41(187).

Kanter, R.M. (1977). Men and woman of the corporation. New York: Basic Books.

Moorhead, G., & Griffin, R. (1995). Organizational behavior, managing people and organizations. Boston: Houghton Mifflin Company.

Orgambídez-Ramos, A., & Borrego-Alés, Y. (2014). Empowering employees: Structural empowerment as antecedent of job satisfaction in university settings. Psychological Thought, 7(1), 28-36.

Short, P. M., Greer, J. T., & Melvin, W. M. (1994). Creating empowered schools: Lessons in change. Journal of Educational Research, 32(4), 38-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25