การสร้างแบบประเมินความเสี่ยงในมิติทางสังคม ที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • พนัชกร เมืองชา สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การสร้างแบบประเมิน, ความเสี่ยงต่อการสูบบุหรี่, เทคนิคเดลฟาย

บทคัดย่อ

การป้องกันและแก้ไขปัญหายาสูบที่ยั่งยืนควรป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนเป็นนักสูบหน้าใหม่ จากการดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของเยาวชนที่มีต่อการสูบบุหรี่ได้ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบประเมินความเสี่ยงในมิติทางสังคมที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้น โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามขั้นตอนเทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมยาสูบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการเลิกบุหรี่ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่จะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือและมีความคลาดเคลื่อนที่ระดับ .04 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อหาฉันทามติที่มีต่อแบบประเมินความเสี่ยงในมิติทางสังคมที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากการศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติต่อแบบประเมินความเสี่ยงในมิติทางสังคมที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำแนกออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพครอบครัว ด้านการคบเพื่อน ด้านสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ด้านสื่อโฆษณา และด้านกฎหมาย จำนวน 35 ข้อ และนำไปประเมินดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือกับตัวแปรและวัตถุประสงค์ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ .79 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .86

References

ขวัญตา สุธรรม. (2561). การป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธีรศักดิ์ พรหมพันใจ, และ วิมลพรรณ กมลเพ็ชร. (2556). การพัฒนารูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ. (ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ, กรมควบคุมโรค).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์

บุญชัย พิริยกิจกำจร และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2561). แนวทางการป้องกัน และลด ละ เลิกบุหรี่ของเยาวชน จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5(1), 112-115.

พนม เกตุมาน. พัฒนาการวัยรุ่น. (2551). สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563, จาก http://www.familynetwork.or.th/content/

พรรณปพร ลีวิโรจน์ และอรวรรณ คุณสนอง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่และผลการพัฒนาโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม เพื่อลดการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา. ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศจย.). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และนงนุช เพ็ชรร่วง. (2559). การป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชน: มุมมองของครอบครัว. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 46-47

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ลัดดาวัลย์ เพชรวิโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี- วัยเด็กตอนกลาง (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

ศักดิ์ชัย บาลศิริ. (2543). การเปรียบเทียบผลของการให้ข้อมูลกลับคืนในเทคนิคเดลฟายด้วยค่าสถิติแตกต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2547). เรื่องที่ 6 พิษภัยของบุหรี่ เล่มที่ 28. สืบค้นเมื่อ4 สิงหาคม 2563, จาก http://saranukromthai.or.th/sub/Ebook/ Ebook.php

สำนักงานควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สอง พ.ศ. 2559-2562. นนทบุรี: บริษัท ไนซ์เอิร์ธ ดีไซน์ จำกัด

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัทดีการพิมพ์ จำกัด

สุวิมล จันทร์เปรมปรุง และอนงค์ พัวตระกูล. (2556). คุณครู 'ต้นทาง' โรงเรียนปลอดบุหรี่. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th /Content/19061

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25