การส่งเสริมวัฒนธรรมหมอยาฮากไม้พื้นบ้านอีสานเพื่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • อนุชา ม่วงใหญ่ สำนักงานวิจัย โรงเรียนนายเรือ
  • นีรนุช ช่วยทอง วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ
  • เบญญาภา แสงจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ
  • นัสพร เฟื่องอิ่ม วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ

คำสำคัญ:

การพัฒนาสุขภาวะชุมชน, หมอยาฮากไม้, การส่งเสริมวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การส่งเสริมวัฒนธรรมหมอยาฮากไม้พื้นบ้านอีสานเพื่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืน มีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมหมอยาฮากไม้พื้นบ้านอีสานเพื่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืนและยังคงไว้ซึ่งความเชื่อในการรักษาของผู้ป่วยโดยมีวิธีการในการพัฒนา 2 ประการคือ 1) เผยแพร่ทางเว็บไซต์และวารสาร 2) ส่งเสริมข้อมูลการทำวิจัยในเรื่องสรรพคุณของรากไม้ เพื่อแก้ปัญหาคนไทยไม่รู้จักหมอยาฮากไม้และสรรพคุณของรากไม้และปัญหาหมอยาฮากไม้ยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ เพื่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืนที่เป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นในชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดความรับรู้และตระหนักรู้ถึงภาวะสุขภาพของตนเอง รวมถึงกระทำการดูแลสุขภาพตนเองให้ได้มากที่สุดโดยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีความปลอดภัยในด้านสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน

References

บุญเลิศ สดสุชาติ. (2553). มานุษยวิทยาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮาส์.

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2561). PRECEDE PROCEED MODEL. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/115416

วรรณภา ศรีธัญญรัตน์. (2555). สร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสู่สุขภาวะสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2545). การพยาบาลจิตเวช. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

อดิศักดิ์ ชัยศิริ และ พูนพัฒน์ กมลวุฒิพงศ์. การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (Transcultural Nursing) สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก mhtech.dmh.go.th/ec/rploei/show_klb_details.php?id_klb=KL00000073

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01