รูปแบบวิธีการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองยุคปฏิรูปของชาวรากหญ้าในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • บุญมี โททำ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จินตกานด์ สุธรรมดี สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ชาวรากหญ้า, ยุคปฏิรูป, การเมืองภาคพลเมือง, รูปแบบวิธี

บทคัดย่อ

การวิจัยรูปแบบวิธีการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองในยุคปฏิรูปของชาวรากหญ้าในจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองยุคปฏิรูปในจังหวัดชัยภูมิ และนำเสนอรูปแบบวิธีการส่งเสริมการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองยุคปฏิรูปในจังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แนวคิด งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียต่อการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ตัวแทนข้าราชการ ภาคเอกชน นักการเมือง ผู้นาชุมชน และประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 10 คน

ผลการวิจัย พบว่า การขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองของชาวรากหญ้าในจังหวัดชัยภูมิส่วนมากถูกจำกัดในด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจและการกำกับตรวจสอบการเมืองของภาคประชาชน และสภาพปัญหาที่พบ คือปัญหาด้านนโยบายของรัฐบาล ปัญหาการนานโยบายสู่การปฏิบัติ ปัญหาด้านกฎหมาย ปัญหาการขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบปัญหาระดับการศึกษาทางการเมือง ปัญหาขาดข้อมูลข่าวสารปัญหาด้านเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นปัญหาทางสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น ปัญหาระดับความสำนึกพลเมืองในชุมชนท้องถิ่น ปัญหาการขาดผู้นำเข้มแข็ง และปัญหาการเมืองท้องถิ่นและความไม่ใส่ใจของผู้บริหารท้องถิ่นต่อการพัฒนาอย่างจริงจัง

รูปแบบวิธีการส่งเสริมการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองยุคปฏิรูปในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า การขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลักที่จะคอยสนับสนุนการขับเคลื่อนและเกื้อหนุนโดยเริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการและตอบสนองประชาชนชาวรากหญ้า การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ การพัฒนาระดับความรู้ความสามารถของประชาชน การพัฒนาให้ประชาชนมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเมืองภาคพลเมือง การเสริมสร้างแรงจูงใจทางการเมือง นักการเมืองในพื้นที่มีภาวะผู้นำทางการเมืองรัฐบาลมีประสิทธิภาพการจัดการงบประมาณ การพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

References

กรมการปกครอง. (2550). พัฒนาการการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

กมล ทองธรรมชาติ. (2535). การเมืองและการปกครอง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา พาณิช.

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ. (2560). การศึกษาสร้างตัวแบบสภาพลเมืองจังหวัด ปทุมธานีสู่ความเข้มแข็งประชาธิปไตยไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1).

ธีรยุทธ บุญมี. (2536). สังคมเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิ่งมิตร.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. สำนักพิมพ์บริษัท วิญญูชน. .

________(2552). รายงานการศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการนโยบายสาธารณะ. สำนักพิมพ์: สถาบันพระปกเกล้า.

ประทาน คงฤทธิ์ศึกษาการ. (2539). การพัฒนาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองในรัฐสภา, 44(1).

ปรัชญา เวสารัชช์. (2538). รายงานการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ศรีสมบูรณ์ แย้มกมล. (2538). ความคิดเห็นของข้าราชการต่อศักยภาพในการบริหารงานของสภาตาบลภายใต้พระราชบัญญัติสภาตาบลฯ พ.ศ. 2537 ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา. (ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

สมบัติ ธารงธัญวงศ์. (2538). การเมือง : แนวความคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สิริพร บุญนันทน์. (2539). ความคิดเห็นต่อการฝึกอบรมของข้าราชการ กรมสรรพสามิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์).

สุจิต บุญบงการ. (2531). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยในการพัฒนาทางการเมืองของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2537). ปัญหาและแนวโน้มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการบริหารการศึกษา. ประมวลชุดวิชาสัมมนาปัญหาแนวโน้ม ทางการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนุรักษ์ เก่งเรียน. (2558). การก่อตัวของธรรมาธิปไตยกับการเมืองภาคพลเมืองใน สังคมไทย ช่วงปี พ.ศ.2547-2557. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองคณะรัฐศาสตร์หาวิทยาลัยรามคาแหง).

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2539). การเมืองภาคประชาชนขบวนการประชาสังคมในสังคมไทย และบทบาทต่อสังคมการเมืองไทย. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2559. จาก www.prachathai.com.

อรรณพ อุ่นอก. (2538). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้าน ฝ่ายกิจกรรมสตรีต่อ การบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดอานาจเจริญ. (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01