แนวทางส่งเสริมการเสียภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ทะเบียนพาณิชย์, การเสริมสร้าง, การเสียภาษีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาหาแนวทางส่งเสริมและประเมินแนวทางส่งเสริมในการเสียภาษีและการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาในการเสียภาษีและการจัดเก็บภาษี แบ่งเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 การศึกษาปัญหาการรับจดทะเบียนประชากร คือ เจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์และเจ้าหน้าที่รับเสียภาษีจำนวน12 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและตีความตามกรอบแนวคิด ตอนที่ 2 ปัญหาการรับจดทะเบียนของเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ กลุ่มประชากร คือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 138 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางเสริมสร้างการเสียภาษีของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์และการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ผู้จัดเก็บภาษีเป็นการระดมความคิดของกลุ่มเป้าหมายแล้ววิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการจัดกลุ่มข้อมูลแล้วสรุปผลและสังเคราะห์เป็นแนวทางเสริมสร้างการเสียภาษีและระยะที่ 3 การประเมินแนวทางเสริมสร้างการเสียภาษีเป็นการประเมินแนวทางเสริมสร้างการเสียภาษี โดยผู้เชี่ยวชาญที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาปัญหาในการเสียภาษีและการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ตามการดำเนินงานการรับเสียภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. การกำหนดแนวทางเสริมสร้างการเสียภาษีของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์และการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ผู้จัดเก็บภาษี องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ผลจากการศึกษาได้แนวทางเสริมสร้างการเสียภาษี 2 แนวทาง 4 โครงการ ได้แก่ แนวทางที่ 1 การส่งเสริมเจตคติต่อการจดทะเบียนพาณิชย์และความสำนึกในหน้าที่การเสียภาษีของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ โครงการรู้หลักภาษีมีกิจการและโครงการสำนึกในหน้าที่เสียภาษีคืนท้องถิ่นและแนวทางที่ 2 การพัฒนาบุคลากรและการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ทะเบียนพาณิชย์ ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ โครงการอบต.ยิ้มรับกับทุกปัญหาท้องถิ่นและโครงการรู้ก่อน รู้ไว้ ประชาสัมพันธ์ไกลทั่วอำเภอ
3. การประเมินแนวทางเสริมสร้างการเสียภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
จากผลการวิจัยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากนั้น สามารถนำไปเป็นข้อมูล สำหรับผู้บริหารและบุคลากรทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนางานเสียภาษีและการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดนโยบายและกำหนดกิจกรรมพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนมากขึ้น พัฒนางานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์ การรับเสียภาษีให้เกิดประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำผลการวิจัยมาประกอบการวางแผนในการพัฒนางานภาษีท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและท้องถิ่นต่อไป
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2540). คู่มือปฏิบัติงานการจัดเก็บภาษีอากร และค่าธรรมเนียมขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2553). คู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติ ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
ปนิษฐา รักธรรรม. (2548). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พนายุทธ เชยบาล. (2550). การนำเสนอรูปแบบจำลองการบริหารจัดการโรงเรียนทางเลือกในประเทศไทย, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวันศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุกัญญา สันป่าแก้ว. (2551). ปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Nitecki, D. (2005). "SERV QUAL and quality assessment of library services''. A review of research in the past decade. Journal of Academic Libraries, 23(1), 51-57.
Palmgreen, Philip and J.D. Rayburn. (2007). "Merging Uses and Gratifications and Expectancy - Value Theory". In Communication Research and international Quarterly.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์