สถานะและศักดิ์กฎหมายของประกาศ หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสำคัญ:
ประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, รัฐธรรมนูญ, กฎหมาย, ลำดับศักดิ์ของกฎหมายบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ออกตามความในมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ที่มีสถานะเป็นกฎหมายทุกฉบับหรือไม่ และหากมีสถานะเป็นกฎหมายจะมีศักดิ์ทางกฎหมายเทียบได้กับกฎหมายใดตามลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทยที่ยอมรับอยู่ในปัจจุบัน เพราะถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 จะได้ยกเลิกไปแล้วก็ตาม ในมาตรา 279 วรรคแรก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ยังคงรับรองให้ประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศยังคงบังคับให้ต่อไปจนกว่าจะถูกยกเลิก ซึ่งหากมีกรณีจะต้องยกเลิกประกาศหรือคำสั่งนั้นเพราะเหตุใดก็ตาม มาตราดังกล่าวได้บัญญัติให้กระทำได้สองวิธี คือ วิธีแรกให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ หรือวิธีที่สองหากประกาศหรือคำสั่งที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางบริหาร การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำโดยคาสั่งนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี แสดงให้เห็นถึงแม้ว่าประกาศหรือคำสั่งของของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 เช่นเดียวกันก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกฉบับจะมีสถานะเป็นกฎหมายหรือหากมีสถานะเป็นกฎหมายแล้วก็อาจมีศักดิ์กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
References
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 53/2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 317 ง. เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 256 . จาก www.krisdika.go.th
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 67/2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 256 ง. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. จาก www.krisdika.go.th
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 71/2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 289 ง. เรื่อง การยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมือง และกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. www.krisdika.go.th
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 42/2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 160 ง. เรื่อง การดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. www.krisdika.go.th.
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559. ราชกิจจานุเบกษา . เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 136 ง. เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. www.krisdika.go.th
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 44 /2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 322 ง. เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตารวจ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. จาก www.krisdika.go.th
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19 /2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 145 ง. เรื่อง แต่งตั้งและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำรงตาแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อื่น. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. จากwww.krisdika.go.th
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 155 ง. เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. จาก www.krisdika.go.th
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2549). คำแปลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ.1958 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2554). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (2555). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. จาก www.krisdika.go.th
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น จำกัด (มหาชน).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561. จาก www.krisdika.go.th
สมยศ เชื้อไทย. (2553). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
หยุด แสงอุทัย. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์