สภานักเรียนกับบทบาทการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน

ผู้แต่ง

  • เลิศพร อุดมพงษ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

สภานักเรียน, ประชาธิปไตยในโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนผ่านกิจกรรมสภานักเรียน และนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมสภานักเรียนที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยทำการศึกษารูปแบบสภานักเรียนของประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษา ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกรณีประเทศญี่ปุ่น ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารและนักเรียนจากโรงเรียน 2 แห่ง คือ โรงเรียนมัธยม Inagakuen (สังกัดรัฐบาล) และ โรงเรียนมัธยม Waseda (สังกัดเอกชน) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นหลัก และในส่วนของประเทศไทยได้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสภานักเรียน และการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้แทนครูที่ปรึกษากิจกรรมสภานักเรียน และผู้แทนนักเรียนจากทั้งกลุ่มที่เป็นหรือเคยเป็นสภานักเรียน และกลุ่มที่ไม่เคยเป็นสภานักเรียนในโรงเรียนที่เป็นต้นแบบสภานักเรียนระดับประเทศ จำนวน 4 โรงเรียน โดยเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวมทั้ง ได้ทำการสำรวจการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนและค่านิยมประชาธิปไตยของนักเรียนด้วยแบบสอบถามจากตัวอย่าง จำนวน 382 คน การวิเคราะห์ผลการวิจัย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ การตีความเชิงพรรณนาข้อมูล และใช้การวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic induction) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติเป็นเครื่องมือคานวณค่าสถิติต่างๆ

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยของญี่ปุ่น คือ ความชัดเจนของเป้าหมายการศึกษาและการมีความเชื่อร่วมกันระหว่างโรงเรียนและส่วนกลางในแนวทางการจัดการศึกษา หลักสำคัญของการนำสภานักเรียนมาใช้ในโรงเรียน คือ การเรียนรู้ประชาธิปไตยที่ต้องผ่านการปฏิบัติจริง โดยจุดเด่นคือ การใช้กิจกรรมสภานักเรียนเป็นตัวกลางในการสร้างและปลูกฝังนิสัยความรับผิดชอบให้เป็นวิถีชีวิตและเน้นการมีส่วนร่วมที่มีพลัง ในขณะที่ผลการศึกษาส่วนของประเทศไทย พบว่า โดยหลักการ แนวคิด และรูปแบบของงานสภานักเรียนมิได้แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การใช้สภานักเรียนเป็นเครื่องมือเสริมสร้างประชาธิปไตยได้ผลที่แตกต่างกัน เริ่มต้นจากการมีเป้าหมายการศึกษาที่ชัดเจน นโยบายการศึกษาที่มีทิศทางไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย จนถึงการปลูกฝังและพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่ครูประจาการ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า กิจกรรมที่นักเรียนสามารถดำเนินการเองทั้งหมด หรือ มีอิสระในการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละสูงที่สุด คือ การแบ่งหน้าที่การทำงานภายในสภานักเรียน (ร้อยละ 59.7) ภารกิจที่เป็นหน้าที่ของสภานักเรียนที่นักเรียนรับรู้มากที่สุด คือ การปฏิบัติงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ หรือข้อบังคับอื่นใดของทางราชการ พร้อมทั้งต้องรักษาไว้ซึ่งศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ผลการวิเคราะห์ระดับค่านิยมประชาธิปไตย พบว่าค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านของค่านิยมประชาธิปไตย อยู่ในช่วงระดับค่านิยมประชาธิปไตยขั้น “ตอบสนอง” (gif.latex?\bar{x} = 2.48, SD=.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่านิยมประชาธิปไตยด้านปัญญาธรรม เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งอยู่ในช่วงระดับค่านิยมประชาธิปไตยขั้น “เห็นคุณค่า” (gif.latex?\bar{x} = 2.54, SD=.42) โดยเมื่อพิจารณาจาแนกค่าเฉลี่ยตามกลุ่มของการเป็นสมาชิกสภานักเรียน พบว่า กลุ่มที่เป็นสมาชิกสภานักเรียนชุดปัจจุบัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนค่านิยมประชาธิปไตยสูงกว่า กลุ่มที่เคยเป็นสมาชิกของสภานักเรียนแต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นแล้วทุกด้าน ในขณะที่ทั้งสองกลุ่มข้างต้น มีค่าเฉลี่ยคะแนนค่านิยมประชาธิปไตยสูงกว่า กลุ่มที่ไม่เคยเป็นสมาชิกสภานักเรียนทุกด้าน แนวทางสำคัญในการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนผ่านกระบวนการสภานักเรียน คือ การวางทิศทางและกำหนดกรอบการขับเคลื่อนงานสภานักเรียนให้มีความต่อเนื่อง การยกระดับความสำคัญของกิจกรรมสภานักเรียนเทียบเท่ากับกิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ การพัฒนาคุณภาพครูที่ปรึกษากิจกรรมสภานักเรียน การสนับสนุนงบประมาณเป็นการเฉพาะที่เพียงพอ รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตย ตลอดจนสร้างความตระหนักแก่ผู้บริหารและครูถึงความสำคัญของกิจกรรมสภานักเรียนในฐานะที่เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนวิถีประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในโรงเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเพิ่มวิชาหน้าที่พลเมืองเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก http://www.spm38.go.th/home/attachments/article/1052/1.pdf

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2557). วิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด (พิมพ์ครั้งที่ 6). สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2559). ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ....(แก้ไขตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ). สืบค้นจาก http://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=803&filename=index

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2553). การสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. คอลัมน์ “ชีวิตที่ เลือกได้” ในมติชนออนไลน์ สืบค้นจาก http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000178133

เพ็ญนภา พุ่มหมี. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับค่านิยมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิตทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประกอบ สาระวรรณ. (2548). การนำเสนอรูปแบบสภานักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic education). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับบลิเคชั่นส์.

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). พฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (5). 74-84.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. สืบค้นจาก http://www.varakorn.com/upload/page/matichon_daily/3_mar_1 1_daily.pdf

สถาบันพระปกเกล้า. (2550). การสำรวจค่านิยมประชาธิปไตยและค่านิยมของเยาวชน. สืบค้นจาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M8_83.pdf

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย.สืบค้นจาก http://social.obec.go.th/library/document/democracy/democracy-camp.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมือ. สืบค้นจาก http://www. cvk.ac.th/download/Civil-final.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. (2558). คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข. (2558). หลักการและแนวทางในการดำเนินงานสภานักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. (2558). คู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน กิจกรรมสภานักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อรวรรณ พนาพันธ์. (2518). การจัดสภานักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบัณฑิต แผนกวิชามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Campbell, D.F. J., Pölzlbauer, P., Barth, T. D. and Pölzlbauer, G. (2013). Democracy Ranking 2013 (Scores). Vienna: Democracy Ranking.

Davies, I., Mizuyama, M. and Thompson, G.H. (2010). Citizenship Education in Japan. Citizenship, Social and Economic Education, 9(3), 170-178.

Griebler, U. and Nowak, P. (2012). Student councils: a tool for health promoting schools? Characteristics and effects. Health Education. 112(2). 105-132.

McFarland, D. and Starmanns, C.E. (2009). Inside Student Government: The Variable Quality of High School Student Councils. Teachers College Record. The Voice of Scholarship in Education.

Parmenter, L., Mizuyama, M. and Taniguchi, K. (2008). Chapter 15: Citizenship Education in Japan. The SAGE Handbook of Education for Citizenship and Democracy. SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-01