การเสริมสร้างอาชีพแปรรูปกล้วยน้ำว้าโดยใช้ภูมิปัญญา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนท้องถิ่น ตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศุภรดา แสนยาโต สังกัดกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ลักขณา เก่วใจ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • จินตกานด์ สุธรรมดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างอาชีพ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่องการเสริมสร้างอาชีพแปรรูปกล้วยน้ำว้าโดยใช้ภูมิปัญญาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนท้องถิ่นตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ำว้า และเพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในการสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลนาฝาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต เป็นแบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มสตรีแม่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการแปรรูปอย่างชัดเจน ได้พัฒนาขีดความสามารถในการแปรรูปจากการแปรรูปกล้วยมากขึ้น โดยสามารถแปรรูปกล้วยน้ำว้าได้หลากหลายประเภท เช่น กล้วยเบรกแตก กล้วยน้ำว้าเพิ่มฉาบไส้มะขาม กล้วยฉาบสมุนไพร กล้วยตากสมุนไพร สามารถเสริมสร้างรายได้ในระดับครอบครัวและชุมชน เกิดการพึ่งพากัน มีความสามัคคีในชุมชน และชุมชนมีความเข้มแข็งเกิดการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างเครือข่ายสมาชิกกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่ชุมชนใกล้เคียง ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มสตรีแม่บ้านตลอดจนผู้สนใจในชุมชน ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดอย่างต่อเนื่อง ควรทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการขยายไปสู่ตำบลอื่นๆ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของกลุ่มสตรีในการแปรรูปผลผลิตการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น ควรมีการศึกษาต่อยอดจากการวิจัยนี โดยการติดตามการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ เพื่อให้ได้รูปแบบการบริหารงานของกลุ่มและเป็นตัวอย่างการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ต่อไป

References

เจน ยินดีรัมย์. (2542). การจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพื่อการพึ่งตนเอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

เทศา รณไพรี. (2561). ประวัติ ความเป็นมา สภาพทั่วไป ของตำบลนาฝาย. (28 พฤษภาคม 2561: สัมภาษณ์).

นารีรัตน์ ทับทอง และคณะ. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การตัดเย็บเสื้อด้วยมือ. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ประเวศ วะสี. (2546). เครือข่ายภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2539). ทฤษฎีสังคมวิทยา: การสร้าง การประเมินค่า และการใช้ประโยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณาลักษ์ มานันที. (2552). ธุรกิจการแปรรูปกล้วยน้ำว้าในอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี. กรุงเทพฯ:

สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. (2561). แผนการพัฒนาจังหวัด ปี พ.ศ. 2561-2564. ชัยภูมิ: สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01