การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จินตกานด์ สุธรรมดี สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์, การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และสร้างรูปแบบการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับประสิทธิผลการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ระดับประสิทธิผลการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.25) (2) รูปแบบการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยถูกขับเคลื่อนด้วยแนวทางเชิงนโยบาย และขับเคลื่อนด้วยกระบวนการกลยุทธ์ที่เรียกว่า แนวทางเชิงปฏิบัติการ เป็นสิ่งสำคัญเริ่มต้นโดยป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่เป็นหน่วยจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านองค์ความรู้ผ่านกระบวนการวิจัยและกระบวนการบริการวิชาการแก่สังคมโดยเน้นการสร้างเครือข่ายและให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นหน่วยบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่จะต้องให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์บุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อดำเนินงานร่วมกับชุมชนในการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและอุทยานแห่งชาติฯ มีส่วนร่วมดำเนินการ ดังนี้ นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยควบคู่ไปด้วย

References

Buckley Ralf. (1995). Where tourism and ecology meet in Hiranburana et al. D (ed.) Proceeding Ecotourism.

Choi Soojin. (2007). Information search behavior of Chinese leisure travelers. United States –Indiana : Purdue University.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ธฤษวรรณ มาตกุล. (2556). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเชื่อมโยงสู่เชิงวัฒนธรรมอีสานกรณีศึกษา วัดศิลาอาสน์ (ภูพระ) จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นันทิยา หุตานุวัตร และ ณรงค์ หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

เบญจวรรณ วงศ์คา. (2552).งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. จดหมายข่าวงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. (มีนาคม-เมษายน).

พรเพ็ญ วิจกัษณ์ประเสริฐ. (2549). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวชุมชนและบ้านพักแบบโฮมสเตย์.พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับกฤษฎีกา, (ตอนพิเศษ 23 ก), 1-24.

วรรณา วงษ์วานิช. (2539). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. 509น.

สุภางค์ จันทวานิช. (2531). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัท วิทยพัฒน์.

อุทัย ดุลยเกษม. (2543).การศึกษาเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์ (มสส.).

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2548). สอนงานอย่างไรให้ได้งาน (Coaching). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์จำกัด.

อาทิตย์ โชติวิริยวาณิชย์ ปัญญา หมั่นเก็บ และทิพวรรณ ลิมังกูร. (2555). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนหลวงพรต- ท่านเลี่ยม เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. 1 สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร และจัดการทรัพยากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01