การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรตามข้อบัญญัติตำบลโหรา เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2542 ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโหรา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กฤติญา สุขเพิ่ม คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกร

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรตามข้อบัญญัติตำบลโหรา เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2542 ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโหรา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ศึกษากระบวนการ ข้อดี และข้อเสียของการส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรตามตามข้อบัญญัติตำบลโหรา เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2542 และเพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรตามข้อบัญญัติตำบลโหรา เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2542 โดยศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้หลักเกณฑ์พิจารณาจากผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรและประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อการจัดการฟาร์มสุกรในพื้นที่ดังกล่าวโดยใช้การสัมภาษณ์เดี่ยวเชิงลึก(In-depth interview) จำนวน 8 คน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการสุกร ผู้นำชุมชน และประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อการจัดการฟาร์มสุกรซึ่งพิจารณาจากชุมชนที่มีการเลี้ยงสุกรตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป ประกอบด้วยหมู่ที่ 4 และ 10 ตำบลโหรา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

จากการศึกษาพบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโหรามีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นข้อดีที่ท้องถิ่นมีหน่วยงานงานส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่ส่งเสริมงานปศุสัตว์ ควบคุมมลพิษจากฟาร์มสุกร ได้แก่ น้ำเสีย กลิ่น มูลสุกร โรคและแมลง และมีโครงการให้ความรู้ในด้านการจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกร ได้แก่การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการบาบัดน้ำเสีย และกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสุกร อีกทั้งมีการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมเพื่อที่ใช้ดาเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษที่ใช้แบบบูรณาการกับการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนซึ่งผู้นำชุมชนทำหน้าที่เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยข้อร้องเรียนที่ได้รับแจ้งจากประชาชนในพื้นที่โดยผู้นำชุมชนเป็นตัวแทนเพื่อไปพูดคุยและเสนอแนะการดาเนินกิจการของฟาร์มสุกรให้เป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อลดปัญหามลพิษที่จะมีผลกระทบความเสียหายต่อชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์อีกทั้งการมีส่วนร่วมในการประเมินผลที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลโหรา สำนักงานเกษตรอำเภอ และเจ้าของฟาร์มสุกรที่มีประสบการณ์การจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าของฟาร์มได้รับความรู้ทางวิชาการ ส่วนในข้อเสียของการจัดการฟาร์มสุกรในพื้นที่พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลโหรายังไม่มีการกำหนดข้อบัญญัติเรื่องการควบคุมการประกอบกิจการเลี้ยงสุกรไว้เป็นการเฉพาะซึ่งไม่มีการกำหนดรายละเอียดและความชัดเจนของวิธีการจัดการมลพิษด้านต่างๆ ของฟาร์มสุกรโดยมีข้อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยให้ท้องถิ่นจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการประกอบกิจการเลี้ยงสุกรเป็นการเฉพาะที่กำหนดระยะห่างของสถานที่ตั้งของโรงเรือนกับชุมชน สถานประกอบการเลี้ยงสุกร สุขลักษณะของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และส่วนประกอบ ระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดการมูลสุกร สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน การจัดการแหล่งแพร่เชื้อโรค การป้องกันเหตุรำคาญ เป็นต้น อีกทั้งควรจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อร้องเรียนที่มีลักษณะเป็นทางการโดยแต่งตั้งจากผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมร่วมกัน

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบลและอบต. กรุงเทพมหานคร.

เจนศักดิ์ รัตนลัมภ์. (2545). แนวทางการลดปัญหามลภาวะจากการเลี้ยงสุกร ในระบบฟาร์มของเกษตรรายย่อย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิฆเนศพริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์จากัด.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ.กรุงเทพมหานคร:สถาบันพระปกเกล้า.

นวลจันทร์ พารักษา. (2531). การใช้มูลสุกรในการผลิตกระแสไฟฟ้า. วารสาร สุกรสาสน์.

นันทนา ศรีสว่าง. (2543). ความตระหนักของเกษตรกรในการจัดการสิ่งแวดล้อมในฟาร์มสุกร ตำบลหาดงิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). กลวิธี แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2541). กระบวนการและเทคนิคการทางานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พัชรินทร์ รัตนวิภา. (2547). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ ทางอากาศ ของสมาชิกองค์กรชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิเชษฐ์ สอนเจริญทรัพย์. (2544). ทัศนคติของประชาชนต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมจากฟาร์มสุกร ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลาพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภิรดี ลี้ภากร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษ:กรณีศึกษาชุมชนมาบชลูด อ.เมือง จ.ระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมชาย รัตนภาสกร. (2550). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการบริหารานองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพร คุ้มจอหอ. (2540). การศึกษาปัญหาการจัดการมลภาวะทางกลิ่นจากมูลสัตว์ในงานฟาร์มปศุสัตว์ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตลำปาง.การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สานักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2548). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน.กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสนับสนุนการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวาริน ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทัน ทาวงศ์มา. (2544). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของ หมู่บ้านแม่ตำ ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาน จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุเนตรตรา จันทบุรี และคณะ. (2558). ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปี 2575. ค้นวันที่ 17 มิถุนายน 2558 จาก http://www. thaifeedmill.com.

สุรศักดิ์ นุ่นมีศรี. (2546). การจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรโดยวิธีการมีส่วนร่วมในพื้นที่ระดับตำบล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เชียงใหม่.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01