ไทยพลัดถิ่นในสังคมไทยกับการสะสมทุนการเมือง

ผู้แต่ง

  • มนต์ชัย ผ่องศิริ กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ไทยพลัดถิ่น, การดำรงชีพ, ทุนการเมือง, ความเป็นธรรม, ความเป็นไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นสถานะของไทยพลัดถิ่นในมุมมองของรัฐไทย กระบวนการสะสมทุนการเมือง และการสร้างยุทธศาสตร์การดำรงชีพ ไทยพลัดถิ่นได้ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อแสดงให้สังคมไทยรับรู้ว่าพวกเขาเป็นพลเมืองไทย กระบวนการสะสมทุนการเมืองและผลที่เกิดจากการต่อรองนั้น ไทยพลัดถิ่นใช้ “ความเป็นไทย” เป็นกรอบอ้างอิงเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเรียกร้องคืนสัญชาติไทย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วรัฐไทยใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกัน “คนที่ไม่ใช่ไทย” ผลสำเร็จจากการเรียกร้องดังกล่าวคือ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ที่ได้เพิ่มนิยาม “คนไทยพลัดถิ่น” โดยแยกออกจากบทนิยามคนต่างด้าวกลุ่มอื่นๆ ความสำเร็จดังกล่าวเปิดโอกาสให้ไทยพลัดถิ่นสามารถสะสมทุนการเมืองเพิ่มมากขึ้นได้ อีกทั้งยังเป็นช่องทางไปสู่การคืนสัญชาติไทยด้วยการเกิด ไม่ใช่การแปลงสัญชาติ ดังที่ไทยพลัดถิ่นยืนยันมาตลอดว่าตนเป็นไทย ไม่ใช่พม่าตามนิยามของรัฐไทย นอกจากนี้ในบทความยังต้องการถกเถียงว่ากรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่พัฒนาโดย Department for International Development (DFID) ของประเทศอังกฤษ ที่ให้ความสำคัญกับทุนการดำรงชีพ 5 ประการ (ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนกายภาพ ทุนการเงิน และทุนธรรมชาติ) สำหรับไทยพลัดถิ่นแล้ว อาจทำให้ “อยู่รอดได้” แต่ไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายไปสู่ความ “ยั่งยืน” ผู้วิจัยจึงเสนอข้อถกเถียงว่า “ทุนทางการเมือง” ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นทุนที่จำเป็นในการสร้างยุทธศาสตร์การดำรงชีพของไทยพลัดถิ่นด้วย

References

Anand, S. and Sen, A. (2000). Human Development and Economic Sustainability. World Development, 28(12), 2029-2049.

Baumann, P. (2000). Sustainable Livelihoods and Political Capital: Arguments and Evidence from Decentralisation and Natural Resource Management in India. (Working Paper 136). London: Overseas Development Institute.

Booth, J.A. and Richard, P.B. (1977). Civil Society, Political Capital, and Democratization in Central America. Paper presented at the XXI International Congress of the Latin American Studies Association, Guadalajara, Mexico.

Bourdieu, P. (1991). Language and Symbolic Power. (G. Raymond and M. Adamson, Trans.). Oxford: Polity Press. Carney, D. (2003). Sustainable Livelihoods Approaches: Progress and Possibilities for Change. Toronto: Finesse Print.

Chambers, R. and Conway, G.R. (1991). Sustainable Rural Livelihoods: Practical Concepts for the 21st Century. (IDS Discussion Paper 296). Brighton: Institute of Development Studies.

______. (2005). Ideas for Development. London: Earthscan. Curry, J.L.M. (1891). William Ewart Gladstone. Richmond: B.F. Johnson & CO.

DFID. (1999). Sustainable Livelihoods Guidance Sheets. London: Department for International Development (DFID).

De Haan, L. and and Zoomers, A. (2005). Development Geography at the Crossroads of Livelihood and Globalisation. In G. Nijenhuis, A. Broekhuis and G. van Westen (Eds.). Space and Place in Development Geography: Geographical Perspectives on Development in the 21st Century. (pp.49-63). Amsterdam: Dutch University Press.

Encyclopedia Britannica Online. (2012). Politics: Who Gets What, When, How. Retrieved October 21, 2012, from http://www. britannica.com/EBchecked/topic/679251/Politics-Who-Gets-What-When-How

Gerring, J., Bond, P.J., Barndt, W.T. and Moreno, C. (2005). Democracy and Economic Growth: A Historical Perspective. World Politics, 57(3), 323-364.

Jones, M., Jones, R. and Woods, M. (2004). An Introduction to Political Geography: Space, Place and Politics. London: Routledge.

Kaag, M. et al. (2004). Poverty is Bad: Ways Forward in Livelihood Research. In D. Kalb, W. Pansters and H. Siebers (Eds.). Globalization and Development: Themes and Concepts in Current Research. (pp.49-74). London: Kluwer.

Keyes, C.F. (1983). Economic Action and Buddhist Morality in a Thai Village. Journal of Asian Studies, 42(4), 851-868.

Lasswell, H.D. (1936). Politics: Who Gets What, When, How. New York: McGraw-Hill.

_____. (1951). The Political Writing of Harold D. Lasswell. Glencoe, Illinois: Free Press.

Marx, K. (1988). Economic and Philosophic Manuscripts of 1844. (M. Milligan, Trans.). New York: Prometheus Book.

Nayden, N.J. (2011). Political Capital Conceptualization: Reclaiming the Heart of Democracy. Retrieved May 25, 2013, from http://ssrn.com/abstract=2041998

Nee, V. and Opper, S. (2010). Political Capital in a Market Economy. Social Forces, 88(5), 2105-2132.

Polanyi, K. (1944). The Great Transformation. New York: Farrar & Rinehart.

Sen, A. (1980). Equality of What?. In S.M. McMurrin (Ed.). The Tanner Lecture on Human Values 1. (pp.197-220). Cambridge: Cambridge University Press.

_____. (1985). Well-Being, Agency and Freedom: The Dewey Lectures 1984. The Journal of Philosophy, 82(4), 169-221.

_____. (1997). Human Rights and Asian Values. New York: Carnegie Council on Ethics and International Affairs.

_____. (2000). Social Exclusion: Concept, Application, and Scrutiny. Manila: Asian Development Bank.

_____. (2005). Human Rights and Capabilities. Journal of Human Development, 6(2), 151-166.

Shapiro, F.R. (2006). The Yale Book of Quotations. New Haven: Yale University Press.

Szucs, S. and Stromberg, L. (Eds.). 2006. Local Elites, Political Capital and Democratic Development: Governing Leaders in Seven European Countries. Wiesbaden: VS Verlag für Sozialwissenschaften.

Van Hear, N. (1998). New Diasporas: The Mass Exodus, Dispersal and Regrouping of Migrant Communities. London: UCL Press.

Voutira, E. (2006). Post-Soviet Diaspora Politics: The Case of the Soviet Greeks. Journal of Modern Greek Studies, 24, 379-414.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ฐิรวุฒิ เสนาคา. (2550). ไทยพลัดถิ่นกับข้อจำกัดขององค์ความรู้ว่าด้วยรัฐ-ชาติในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2544). การกำหนดความเป็นไทยของบุคคลบนพื้นที่สูง. ในส่วนการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คู่มือการกำหนดสถานะของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่ม 1. (หน้า 54-84). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รักษาดินแดน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

______. (2554). มายาคติแห่งสิทธิในสัญชาติ: มุมมองจากทฤษฎีแห่งเรื่องจริง. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 4(1), 5-24.

มูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก (ผู้เรียบเรียง). (2008). คู่มือแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายและการแจ้งเกิดของบุคคลซึ่งเกิดในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ยูเนสโกกรุงเทพ.

เลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล. (2559). สิทธิในป่าไม้และที่ดินของชาติพันธุ์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย. บทความนำเสนอในการสัมมนาวิชาการ เรื่อง ชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา ครั้งที่ 2 วันที่ 26-27 ธันวาคม ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ส่วนการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2544). คู่มือการกาหนดสถานะของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่ม 2 (บัตรประจำตัวชนกลุ่มน้อย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รักษาดินแดน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2547). ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01