ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมกับประชาสังคม
คำสำคัญ:
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม, ประชาสังคมบทคัดย่อ
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเป็นพัฒนาการของประชาธิปไตยที่ต้องการเสริมอำนาจความเป็นพลเมืองให้ประชาชน ในการตัดสินใจกำหนดและดำเนินนโยบายสาธารณะด้วยวิธีการของตนเอง เนื่องจากประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยตัวแทนที่ประชาชนเลือกไปทำหน้าที่บริหาร ไม่สามารถกำหนดนโยบายตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาและความต้องการ อันแตกต่างและหลากหลายของประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาสังคมตามแนวคิดเกี่ยวกับการคานอำนาจระหว่างรัฐกับสังคมในประเด็นสาธารณะเหมาะสมกับประชาคมขนาดเล็กที่มีลักษณะทางสังคมและความเป็นอยู่เท่าเทียมกันประชาชนต้องการเข้ามามีส่วนร่วม ในกิจกรรมสาธารณะด้วยวิธีการของตนเอง ระดับของการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาสังคมจะสะท้อนถึงพลังอำนาจและอิทธิพลของประชาชนในการกำหนดและดำเนินนโยบาย
References
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2542). “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ และนัยยะเชิงทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย” ใน ขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. (อนุชาติ พวงสาลี, บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิสชิ่ง.
ฐิติอลีนา ใจเพียร. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน: ภายใต้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น).
ธีรยุทธ บุญมี. (2547). ประชาสังคม. กรุงเทพฯ: สายธาร.
พัชรี สิโรรส. (2556). พลวัตนโยบายสาธารณะ: จากรัฐเอกชนสู่ประชาชน. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2542). “การเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมือง: รากแก้วของกระบวนการ สร้างประชาสังคม” ใน ขบวนการประชาสังคมไทย:ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง (อนุชาติ พวงสาลี, บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิสชิ่ง.
อรทัย ก๊กผล. (2556). “การมีส่วนร่วมของประชาชน: ความท้าทายของนักบริหารรัฐกิจในสังคมประชาธิปไตย” ใน การบริหารการปกครองสาธารณะ: การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). (อัมพร ธารงลักษณ์, บรรณาธิการ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2542). ประชาสังคมในมุมมองตะวันตก: อ่านและสอน ที่จอห์นส์ ฮอบกินส์. กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2543). การเมืองของพลเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์