สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชีของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ชื่นชม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

สมรรถนะในการปฏิบัติงาน, บุคลากรด้านการเงินและบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเอง 2) ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเองจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเองของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่มี เพศ อายุ และประสบการณ์ทำงานด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเองโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งมีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลางกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กัญญาฏา พวงมะลิ. (2556). สมรรถนะหลักในการปฎิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา).

กิจจา บานชื่น และกณิกนันต์ บานชื่น. (2559). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

กีรติ ยศยิ่งยง. (2550). ขีดความสามารถ : Competency Based Approach (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงาน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

จิตรา ปราชญ์นิวัฒน์. (2549). สมรรถนะของสาธารณสุขอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

ปริศนา ประหารข้าศึก. (2557). บทบาทและความท้าทายของนักบัญชียุคใหม่. จดหมายข่าว สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ (FAP Newsletter), ฉบับที่ 22 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557.

เมธปิยา พิมพ์เสนา. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามสมรรถนะของ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. วิเชียร วิทยอุดม. (2554). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิทยา จันทร์ศิริ. (2551). การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สกล สุดชนะ. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคาแหง).

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency BASED LEARNING. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

สุธีรา ทั่วประโคน. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรภาครัฐ ด้านการคลังการบัญชี. วารสารกรมบัญชีกลาง. 6, 31-52.

สุภาภรณ์ ประทุมชัน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

เอกอนงค์ คงประสม. (2553). สมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสารสนเทศศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Sabah Agha. (2012).Effect of Core Competence on Competitive Advantage and Organizational Performance, International Journal of Business and Management. 7(1), 192-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01